การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • จิราพร เกิดศิริ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้ป่วยเด็ก, โรคไข้เลือดออก, ภาวะช็อค

บทคัดย่อ

     โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุข เนื่องจากเป็นโรคที่ระบาดได้เร็ว และอาการเปลี่ยนนแปลงได้รวดเร็วและรุนแรง อาจเกิดภาวะช็อค และถ้าไม่ได้รับการเฝ้าระวังจะเกิดภาวะช็อครุนแรง ซึ่งมีความยุ่งยากในการดูแลรักษาพยาบาลหากปล่อยไว้นานจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ตับวาย ไตวาย เลือดออกมากจนถึงเสียชีวิตได้

     ผู้ป่วยเด็กชายอายุ 5 ปี มาตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช วันที่19 กุมภาพันธ์ 2563 ด้วยอาการมีไข้ ไอ น้ำมูกใส ก่อนมาโรงพยาบาล 3 วัน ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไข้เลือดออกร่วมกับมีภาวะช็อค การพยาบาลผู้ป่วยได้แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพยาบาลระยะก่อนตรวจ ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงของภาวะไข้สูง (39.3 องศาเซลเซียส) พยาบาลประเมินอาการ วัดสัญญาณชีพ เช็ดตัวร่วมกับให้ยาลดไข้ เฝ้าระวังภาวะชักจากไข้สูง จำแนกประเภทผู้ป่วยตามมาตรฐาน และจัดเตรียมความพร้อมของเวชระเบียน ประสานกับแพทย์เพื่อนาผู้ป่วยเข้ารับการตรวจโดยเร็ว ระยะที่ 2 การพยาบาลขณะตรวจ แพทย์วินิจฉัยสงสัยเป็นโรคไข้เลือดออก ให้เจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และทา Tourniquet test ให้ผลบวก (14 จุด/ตารางนิ้ว) ในระหว่างรอผลเลือดสัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง (pulse pressure < 20 mmHg) รายงานแพทย์ทันที และนำส่งผู้ป่วยเด็กไปดูแลต่อที่ห้องฉุกเฉิน ได้รับการให้สารน้ำ และพิจารณาให้นอนรักษาตวั ในโรงพยาบาล ระยะที่ 3 การพยาบาลระยะหลังตรวจ เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง และประเมินอาการอย่างใกล้ชิด ติดต่อประสานงานเพื่อรับผู้ป่วยไว้นอนรักษาพยาบาลและนำส่งผู้ป่วยเด็กไปรักษาพยาบาลต่อที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมอย่างปลอดภัย

     บทบาทที่สาคัญของพยาบาลผู้ป่วยนอก ต้องมีความรู้ความชานาญ และมีทักษะในการประเมินจาแนกประเภทผู้ป่วยรวมทั้งการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดที่สามารถให้การพยาบาลได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา มีประสิทธิภาพ เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25

How to Cite

เกิดศิริ จ. (2022). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค : กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 6(1), 29–31. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/863