การเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ก่อนและหลังการดูแลผู้ป่วย 3 กลุ่มโรคตามแนว ทางการดูแลผู้ป่วยจังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • คมคาย สิทธิโชค กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง

คำสำคัญ:

แนวทางการดูแลผู้ป่วย, การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันก่อนและหลังการดูแลผู้ป่วย 3 กลุ่มโรคตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยจังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยก่อนและหลังการดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยจังหวัดอ่างทองกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วย 3 กลุ่มโรค ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ และผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังที่มารักษาที่โรงพยาบาลอ่างทองเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแนวทางการดูแลผู้ป่วยจังหวัดอ่างทอง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันทำการศึกษาในช่วงวันที่ 1 เมษายน 2561 – 27 มีนาคม 2562วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน paired samples t-test

     ผลการศึกษา : ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 51 ราย เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คือ ร้อยละ 66.7 อายุเฉลี่ย 66.31 ปี อายุต่าสุด 16 ปี อายุสูงสุด 92 ปี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสูงอายุ ร้อยละ 70.6 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 90.2 และส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยในเขตเมืองเมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันก่อนและหลังการดูแลพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหลังการดูแลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25

How to Cite

สิทธิโชค ค. (2022). การเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ก่อนและหลังการดูแลผู้ป่วย 3 กลุ่มโรคตามแนว ทางการดูแลผู้ป่วยจังหวัดอ่างทอง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 6(1), 52–56. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/866