ผลการพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ของอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จิตรา ธำรงชัยชนะ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบการออกกำลังกาย, แรงสนับสนุนทางสังคม, ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสารวจมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนารูปแบบการออกกาลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การออกกำลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ของอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Random Sampling จำนวน 316 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 70.67 ปี เป็นเพศหญิง โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา และไม่ได้ประกอบอาชีพ จึงทำให้มีรายได้ต่ากว่า 5,000 บาท มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยวิธีการเดิน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ในช่วงเวลา 05.00 – 09.00 น. น้อยกว่า 30 นาที/ครั้ง เหตุผลในการออกกำลังกาย เพื่อรักษาสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง โดยหลังออกกำลังกายจะมีความรู้สึกผ่อนคลาย กลุ่มตัวอย่างได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมสูงสุด คือ บุคคลในครอบครัวสนับสนุนให้เข้าร่วมงานประเพณีหรือทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน และ บุคคลในครอบครัวสนับสนุนให้ได้พูดคุยกับผู้รู้เรื่องการดูแลสุขภาพ เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปัจจัยที่มีมีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนของสังคมในการออกกำลังกาย ได้แก่ อายุ ระยะเวลาการอยู่อาศัยในชุมชน, ชนิดของการออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ,จำนวนวันที่ใช้ออกกาลังกายต่อสัปดาห์, ระยะเวลาในการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง, ช่วงเวลาในการออกกำลังกาย, เหตุผลในการออกกำลังกายและอาการที่พบหลังออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26