ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ชุมพล แสบงบาล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค, การดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 52 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) เครื่องมือทดลอง ได้แก่ โปรแกรมฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม (2) เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีดัชนีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคที่ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired sample t-test

     ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 7.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.03 ) สูงกว่าก่อนการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 6.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความรนแรงของโรค หลังการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 4.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.17)สูงกว่าก่อนการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 3.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) การรับรู้ความคาดหวังความสามารถตนเองในการป้องกันโรค หลังการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 4.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.29) สูงกว่าก่อนการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 4.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) การแนะนาการปฏิบัติตนเพื่อผ่อนคลายความเครียดแก่ผู้กักตัวที่บ้าน หลังการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 3.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.27) สูงกว่าก่อนการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 3.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.28) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) พฤติกรรมการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคในชุมชน หลังการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.29) สูงกว่าก่อนการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 3.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

แสบงบาล ช. (2022). ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 6(2), 30–39. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/873