ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมที่มีต่อปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่แผนกไตเทียม โรงพยาบาลบุณฑริก

ผู้แต่ง

  • ลิขิต ผลดี เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานเภสัชกรรมและงานคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การบริบาลทางเภสัชกรรม, ปัญหาจากการใช้ยา, กระบวนการจัดการปัญหาการใช้ยา, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมที่มีต่อปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังให้การบริบาลทางเภสัชกรรม เก็บข้อมูลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่โรงพยาบาลบุณฑริก โดยเภสัชกรค้นหาและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา ให้คาแนะนำปรึกษาด้านยา ระหว่างเดือน มกราคม 2564 ถึง มีนาคม 2564 ติดตามผู้ป่วยหลังให้การบริบาลทางเภสัชกรรมสัปดาห์ที่ 4 ถึง 12 วัดผลลัพธ์การจัดการปัญหาการใช้ยา (PCNE V.8.02) ผลลัพธ์ทางด้านคลินิก คุณภาพชีวิต (KDQOL-SF version 1.3) วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน Chi-Square Test และ Paired T-Test

     ผลการวิจัยพบว่ามีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษา 30 ราย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 56.50±13.76 ปี จำนวนรายการยาที่รับประทาน 8.50±1.92 ชนิด/วัน พบผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการใช้ยา 19 ราย (ร้อยละ 63) และเมื่อสิ้นสุดการศึกษาลดลงเหลือ 12 ราย (ร้อยละ 40) ปัญหาผู้ป่วยเลือกที่จะไม่รับประทานยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการบริบาลทางเภสัชกรรม (จากร้อยละ 36.67 ลดลงเหลือร้อยละ 13.33, p-value=0.005) ปัญหาการใช้ยาที่พบมากที่สุดคือปัญหามีอาการหรือข้อบ่งชี้ที่ไม่ได้รับการรักษา (จากร้อยละ 56.67 เหลือร้อยละ 36.67 ของผู้ป่วยทั้งหมด) และ ปัญหาไม่ได้ผลจากการรักษา (จากร้อยละ
6.67 เหลือร้อยละ 3.33 ของผู้ป่วยทั้งหมด) ด้านผลการยอมรับของแพทย์และผู้ป่วยตามคาแนะนาของเภสัชกร พบว่าได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการบริบาลทางเภสัชกรรม (จากร้อยละ 68.42 เพิ่มเป็นร้อยละ 91.67 ของปัญหาทั้งหมด, p-value <0.001) ปัญหาทั้งหมดได้รับการแก้ไขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการบริบาลทางเภสัชกรรม (จากร้อยละ 73.68 เพิ่มเป็นร้อยละ 83.33 ของปัญหาทั้งหมด, p-value=0.002) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร และระดับฟอสเฟตในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการบริบาลทางเภสัชกรรม (p-value<0.05) หลังการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ (p-value <0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

ผลดี ล. (2022). ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมที่มีต่อปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่แผนกไตเทียม โรงพยาบาลบุณฑริก. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 6(2), 69–80. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/878