แรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติดของผู้เข้ารับการบาบัดสารเสพติด ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับกลุ่มผู้เสพ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร ยอดเรือน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติด, ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มผู้เสพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติดของผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติด ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสาหรับกลุ่มผู้เสพ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้เข้ารับการบาบัดในศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสาหรับกลุ่มผู้เสพ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกุภาพันธ์ - กันยายน 2563 จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และมาตรวัดแรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติบรรยาย Independent sample T-test และ One-way ANOVA

     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย เท่ากับ 34.38 ปี (SD = 9.87) ช่วงอายุที่มากสุดได้แก่ 31 - 40 ปี ร้อยละ 38.79 สถานภาพสมรส โสด ร้อยละ 54.41 สมรส ร้อยละ 35.01 แยกกันอยู่/หย่าร้าง/หม้าย ร้อยละ 10.58 ระดับการศึกษาสุงสุด ส่วนมาก ได้แก่ ประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 38.79 รองลงมาคือมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 35.52 ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 56.17 เกษตรกรรม ร้อยละ 23.43 โดยร้อยละ 53.15 มีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,001 – 10,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้สารเสพติดส่วนใหญ่คือ น้อยกว่า 6 ปี ร้อยละ 29.97 รองลงมาคือ 6 – 10 ปี และ 11 – 15 ปี ร้อยละ 20.40 และ 11.88 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของแรงจูงใจในการเลิกยาเสพติดในภาพรวมเท่ากับ 3.28 ด้านการยอมรับ (3.06) ด้านความลังเลใจ (3.04)
และด้านการลงมือทำ (3.59) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ช่วงอายุ สถานาาพสมรส ระยะเวลาในการใช้สารเสพติดที่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนแรงจูงใจในการเลิกยาเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

ยอดเรือน เ. (2022). แรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติดของผู้เข้ารับการบาบัดสารเสพติด ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับกลุ่มผู้เสพ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 6(2), 96–101. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/883