ความพร้อมในการจัดบริการสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พรพิมล การญาณ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • อรทัย ไชยมะโย

คำสำคัญ:

รูปแบบบริการ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบการให้บริการ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ (2) ความพร้อมในการจัดบริการสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นบุคลากรของโรงพยาบาลสันป่าตอง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอสันป่าตอง รวมทั้งสิ้น จำนวน 12 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำมาจัดทาข้อสรุป

     ผลการวิจัยพบว่า (1) โรงพยาบาลสันป่าตอง มีการปรับรูปแบบการให้บริการเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่โรงพยาบาล โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ดีและยังได้รับการรักษาด้วยยาเดิม จะจัดให้พบพยาบาลแทนการพบแพทย์ ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมโรคไม่ดีจะจัดให้พบแพทย์เช่นเดิม แต่ระยะเวลาในการพบแพทย์หรือพยาบาลของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มจะลดลง สาหรับผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ดี และรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ยังคงได้รับบริการในรูปแบบเดิมเช่นเดียวกับช่วงที่ยังไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อฯ (2) ความพร้อมของการจัดบริการ ด้านรูปแบบบริการ (Service Delivery) โรงพยาบาลสันป่าตองมีการปรับลดเวลาในการพูดคุยกับผู้ป่วย ลดขั้นตอนการให้บริการ และปรับรูปแบบการทางานของคลินิกโรคเรื้อรัง ให้เป็นแบบ การบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One stop service) ด้านบุคลากร (Health Workforce) คลินิกโรคเรื้อรังยังคงอัตรากำลังเท่าเดิม แต่ปรับบทบาทบุคลากรให้สอดคล้องกับรูปแบบการให้บริการ ซึ่งโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการยังไม่พบปัญหาด้านความรู้และทักษะในการให้บริการภายใต้การดูแลผู้ป่วยในรูปแบบนี้ ด้านระบบสารสนเทศ (Information) ยังไม่มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ยา (Medical Product) พบว่า ระบบการจัดการแบบเดิม ยังสามารถรองรับการให้บริการรูปแบบเดิมได้ แต่ด้านงบประมาณ (Financing) ยังขาดความพร้อมต่อการพัฒนา
เทคโนโลยีในการติดตามการรักษาผู้ป่วยในรูปแบบอื่น สำหรับด้านการอภิบาลระบบ (Governance) มีการสื่อสารให้ทุกจุดบริการออกแบบการให้บริการ โดยยึดหลัก ลดการมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยอย่างสมเหตุสมผล และลดระยะเวลาการพบปะ (Contact Time) ระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการของโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อกระบวนการในการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ ปัญหา อุปสรรคสำคัญของการพัฒนา/การจัดระบบบริการ คือความไม่พร้อมของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อจำกัดด้านงบประมาณเนื่องจากโรงพยาบาลไม่มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและการสนับสนุนให้เกิดการ ใช้งานแอพพลิเคชั่น ที่สามารถนำมาเอื้อต่อการพัฒนาระบบสุขภาพได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26