ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • โสพิน ศรีสมโภชน์ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม
  • รัชนี หลงสวาสดิ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จาแนกตาม เพศ อายุ ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว ระยะเวลาที่ทราบว่าป่วย ระดับการศึกษา และการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ ได้ขนาดตัวอย่าง 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผ่านการหาค่าความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้านระดับความรู้โดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .77 และแบบสอบถามระดับพฤติกรรมโดยใช้สูตร สัมประสิทธิ์อัลฟาของ ครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .75 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ t-test และสถิติ One Way ANOVA

     ผลการศึกษา พบว่า 1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูง ร้อยละ 80.98 และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.75 2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาที่เจ็บป่วยต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านอื่น ได้แก่ ประวัติการเจ็บป่วยคนในครอบครัว ระดับการศึกษา และการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน พบว่า มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่แตกต่างกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26