การพัฒนารูปแบบการตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข ในเขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การตรวจราชการ, นิเทศงาน, เขตสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ 2) การพัฒนารูปแบบ และ 3) ผลจากการพัฒนารูปแบบการตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข ในเขตสุขภาพที่ 7 ประชากรเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) คณะทางานที่เกี่ยวกับการตรวจราชการฯ จำนวน 4 จังหวัด (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์) รวมจำนวน 150 คน และ 2) กลุ่มประชาชนที่ได้ผลกระทบจากการตรวจราชการฯ จำนวน 4 จังหวัด รวม 150 คน ดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือน กันยายน 2562 –ธันวาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่าง ก่อน-หลังพัฒนารูปแบบด้วยสถิติ Paired Samples t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การตรวจราชการฯ พบว่า ยังไม่มีรูปแบบ จึงต้องการแนวทางและรูปแบบที่นาไปสู่การดำเนินการให้สอดคล้องกับบริบท 2) ได้รูปแบบและพัฒนาขึ้นให้มีความสอดคล้องเหมาะสมตามบริบท คือ Six Auditing Blocks (SAB) Model ดังนี้ 1.กำหนดโครงสร้างรองรับและผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละระดับ 2.การวิเคราะห์ปัญหา เป้าหมาย/โอกาสในการพัฒนา (3.กาหนดกรอบในการวางแผน 4.กำหนดเป้าหมายระยะสั้น 5.กำหนดกิจกรรม/โครงการแต่ละเป้าหมาย 6.การควบคุมกำกับติดตาม ประเมินผล และ 3) ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบ พบว่า ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะในการตรวจราชการฯ การมีส่วนร่วมและผลกระทบเชิงบวก จากการตรวจราชการฯ ก่อน-หลังพัฒนารูปแบบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(pvalue=0.001) โดยภายหลังการพัฒนารูปแบบมีค่าเฉลี่ยมากขึ้นกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบ