ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านการยศาสตร์ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง ต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทำงานของพนักงานในสถานประกอบการแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
การยศาสตร์, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านการยศาสตร์ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง ต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทางานของพนักงานในสถานประกอบการ ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง เปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน เลือกตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยการจับฉลาก โปรแกรมฯหลัก ประกอบด้วย 1) การบรรยาย 2) กิจกรรมกลุ่มประเมินตนเอง 3) สาธิตและฝึกปฏิบัติ การปฏิบัติท่าทางการทางานตามหลักการยศาสตร์ 4) กิจกรรมกลุ่มย่อย ใบงาน ทาเฉพาะกลุ่มทดลอง (E) 5) เดือนที่ 1 เยี่ยม ติดตาม ทำกิจกรรมกลุ่ม วิเคราะห์ผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำเฉพาะกลุ่มทดลอง (E) 6) เดือนที่ 3 ติดตามประเมินผลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง 2 กลุ่ม เครื่องมือ ที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การรับรู้ความเสี่ยง ความรุนแรง ประโยชน์และอุปสรรค และพฤติกรรมการป้องกันฯ จำนวนและระดับความเจ็บปวด วิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนาและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเข้าโปรแกรมในกลุ่ม ระหว่างกลุ่ม โดยการเปรียบเทียบค่าที (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมพนักงาน ทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างกัน เป็นเพศชายและหญิงใกล้เคียงกัน อายุเฉลี่ย 36 ปี ลักษณะงาน ที่เสี่ยงคือยืนนาน 41.7 % เคลื่อนไหวในท่าซ้าๆ 38.3 % น้าหนักเกิน 20 % มีปัญหาเรื่องปวด 43.3% ปวดบริเวณไหล่และหลังส่วนล่างเท่ากัน 11.7 % ปวดหลังส่วนบน 10 % ภายหลังเข้าโปรแกรมฯ การรับรู้ความเสี่ยง ความรุนแรง ประโยชน์และอุปสรรค และพฤติกรรมการป้องกันฯ ของทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .000 ทั้ง 4 ด้าน กลุ่มทดลอง (E) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม (C) ทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .004,.003,.028 และ.020 ทั้ง 2 กลุ่มมีจำนวนครั้งความเจ็บปวดหรือเมื่อยล้ากล้ามเนื้อหรือกระดูกไม่แตกต่างกันแต่กลุ่มทดลองมีระดับความเจ็บปวด น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001