แรงจูงใจที่มีผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีอนามัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีอนามัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional Descriptive Research)มีวัตถุประสงค์ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีอนามัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ หัวหน้าสถานีอนามัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 29 คนและตรวจสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช 0.95 และสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 14 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
จากการศึกษาแรงจูงใจในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก( = 3.89, S.D. = 0.38)และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีอนามัย อยู่ในระดับมาก ( =4.22,S.D.=0.44) แรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีอนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.689, p-value < 0.01)และ ตัวแปรที่พยากรณ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีอนามัย ได้แก่ ปัจจัยจูงใจด้านการยอมรับนับถือ ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปัจจัยทั้ง 6 ด้านสามารถพยากรณ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าสถานีอนามัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 59.00 ( 2 = 0.590 , P- value < 0.035) ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.33 คือ แรงจูงใจด้านปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือน