รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • สิทธิพงษ์ พรมแสง นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3, การส่งเสริมสุขภาพ, การชะลอการเสื่อมของไต

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม จำนวน 177 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง แบบสอบถามพฤติกรรมการชะลอการเสื่อมของไต เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือการชะลอการเสื่อมของไต แบบบันทึกผลการตรวจร่างกาย ศึกษาในระหว่างเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง พฤติกรรมการชะลอการเสื่อมของไต และผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการโดยใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ dependent Sample t-test

     ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ประกอบด้วย 1) การตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยการจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระดับอำเภอ 3) การจัดหน่วยเคลื่อนที่ให้คำแนะนา ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาแก่ทีมผู้รับผิดชอบคลินิกโรคเรื้อรัง โดยทีมคลินิกโรคเรื้อรังระดับอำเภอ 4) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เพื่อชะลอไตเสื่อมช่วยทำผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 เข้าถึงระบบบริการและสามารถเรียนรู้ในการดูแลตนเอง

     ความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังและพฤติกรรมการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังและพฤติกรรมการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกัน โดย หลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( gif.latex?\bar{x} =18.67,S.D.=0.52, gif.latex?\bar{x} =13.36, S.D.=3.33, gif.latex?\bar{x} = 107.48, S.D.=4.49, gif.latex?\bar{x} = 97.16, S.D.=9.82 ตามลำดับ)

     ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือดและ eGFRs จากผลการศึกษาพบว่า ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกัน โดยหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

พรมแสง ส. (2022). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 6(3), 63–71. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/899