การพัฒนาแนวทางในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเข้าสู่มาตรฐานการผลิตอาหารที่ดี กรณีศึกษา: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง อำเภอท่าบ่อ
คำสำคัญ:
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนางอำเภอท่าบ่อ, มาตรฐานการผลิตอาหารที่ดี, ประกาศกระทรวง สาธารณสุข(ฉบับที่ 420) พ.ศ.2563บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของกระบวนการผลิตในวิสาหกิจชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตอาหารที่ดี และ 3) กำหนดแนวทางในการดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเข้าสู่มาตรฐานการผลิต กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านกองนาง อำเภอท่าบ่อ ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นกรณีศึกษาด้วยรูปแบบการวิจัยแบบผสม โดยนำหลักแนวคิดการบริหารจัดการองค์กร อ้างอิงตามหลักการ McKinsey 7-S Framework และหลักเกณฑ์มาตรฐานการผลิตอาหารที่ดีมาเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย ซึ่งอาศัยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประเมินผลในกระบวนการผลิตตามมาตรฐาน GMP ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ.2563 จากการมีส่วนร่วมของประธาน สมาชิกและ/หรือตัวแทนวิสาหกิจ เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักผลการวิจัยพบว่า ระบบการจัดการองค์กร(System) โดยเฉพาะด้านการบริหารการเงิน เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการดำเนินงานมากที่สุด รองลงมาคือกลยุทธ์ขององค์กร(Strategy) การจัดการบุคคลในองค์กร (Staff, Style,Skill) โครงสร้างการบริหารองค์กร (Structure) ค่านิยมร่วม (Shared Value) และการสนับสนุนส่งเสริมของภาครัฐบาล (Government Support) ตามลำดับ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานธุรกิจ สำหรับผลการประเมินสภาพแวดล้อมในกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP จากการประเมินหลังการปรับปรุงด้วยกิจกรรม 5ส. พบว่า ในส่วนของระดับคะแนนแต่ละหมวดและคะแนนรวมสูงกว่าร้อยละ 60 (หมวดที่ 1 ร้อยละ 86.11, หมวดที่ 2 ร้อยละ 79.17, หมวดที่ 3 ร้อยละ 68.94, หมวดที่ 4 ร้อยละ 83.33, หมวดที่ 5 ร้อยละ 93.75 และคะแนนรวมทุกหมวดร้อยละ 79.31) แต่ยังพบข้อบกพร่องที่รุนแรง(Major Defect) ทาให้ยังไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน GMP เนื่องจากหลักการ 5ส. ไม่ครอบคลุมเกณฑ์มาตรฐานบางหัวข้อ และเมื่อพิจารณาในหัวข้อที่ไม่ผ่านการประเมิน(ข้อบกพร่องที่รุนแรง) พบว่าสาเหตุเกิดจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม่มีงบประมาณในการดาเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP