Author Guidelines

รูปแบบการตีพิมพ์บทความลงวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา

ประเภทของผลงานที่เปิดรับ

         1. บทความวิจัย (Research Article)

         2. บทความวิชาการ (Article)

         3. บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)  

         4. บทความปริทรรศน์ (Review Article)

 สาขาวิชาของผลงานที่เปิดรับ

         1. สาขาวิชาแพทยศาสตร์

         2. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

         3. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

         4. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

         5. สาขาวิชาอื่นๆ ตามที่กองบรรณาธิการเห็นสมควร

กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่

          ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน        ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม

การจัดส่งบทความ

         1. ผู้แต่งจัดทำบทความตามรูปแบบที่กำหนด

         2. ส่งบทความผ่านระบบ ThaiJo ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา https://hetci-thaijo.org/index.php/jhsnmc/index

         3. ไฟล์บทความอยู่ในรูปแบบ Microsoft Word

         4. บทความนี้มิเคยได้ถูกตีพิมพ์หรือไม่ได้ถูกนำส่งเข้ากระบวนการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ที่แหล่งอื่นมาก่อน (หรือได้มีการระบุให้กองบรรณาธิการทราบแล้ว)

         5. ผู้แต่งจะต้องตรวจสอบอักขราวิสุทธิ์ (Plagiarism) และแนบเอกสารมาก่อนที่จะส่งบทความตีพิมพ์

         6. บทความวิจัยควรผ่านการรับรองโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Research Ethic Committee-REC or Institutional Review Board-IRB) หากไม่แน่ใจว่างานวิจัยของท่านควรผ่านการรับรองโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือไม่ ท่านสามารถตรวจสอบได้จาก แบบตรวจสอบกิจกรรม/งานวิจัยเข้าข่ายการวิจัยในมนุษย์ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แบบตรวจสอบฯ คลิกที่นี่ โดยหากตอบ "ใช่" อย่างน้อย 1 ข้อ แสดงว่า งานวิจัยของท่านควรได้รับการรับรอง

คำแนะนำผู้แต่ง

ขั้นตอนการดำเนินการลงบทความในวารสาร

         1. ผู้แต่งส่งบทความผ่านระบบ ThaiJo ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jhsnmc/index

         2. บรรณาธิการได้รับต้นฉบับบทความ และพิจารณาว่าสมควรรับบทความพิจารณาหรือไม่ โดยพิจารณาว่าผู้แต่งดำเนินการตามนโยบายการจัดพิมพ์และแนวทางการจัดเตรียมบทความถ้าบรรณาธิการรับบทความไว้พิจารณา

         3. กองจัดการวารสารส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความทั้งนี้กองจัดการวารสารจะแจ้งผลการประเมินบทความภายใน 4-6 สัปดาห์ หากได้รับผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ถ้าบทความนั้นมีการประเมินรอบที่ 2 จากผู้ทรงคุณวุฒิ กองจัดการวารสารจำเป็นต้องขยายเวลาการแจ้งผลออกไปอีก

         4. ผู้แต่งจะได้รับจดหมายตอบรับการตีพิมพ์หลังจากบรรณาธิการได้รับทราบผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้แต่งแก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและตามแนวทางการจัดเตรียมบทความโดยผู้แต่งต้องแก้ไขบทความ และส่งกลับมายังกองจัดการวารสารผ่านระบบ ThaiJo

         5. กองจัดการวารสารจะส่งหนังสือตอบรับให้แก่ผู้แต่งทางอีเมล แต่ในกรณีที่บทความไม่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิทางกองจัดการวารสารฯจะจัดส่งจดหมายแจ้งปฏิเสธการตีพิมพ์ไปทางอีเมลให้แก่ผู้แต่ง      

กระบวนการคัดเลือกบทความ

           วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา จัดให้มีกระบวนการในการคัดเลือกบทความที่มีคุณภาพ ซึ่งมีกระบวนการดังต่อไปนี้

         1. บทความที่ส่งเข้ามาจะผ่านการพิจารณาจากบรรณาธิการ และถูกส่งไปยังผู้ชำนาญการ(ผู้ทรงคุณวุฒิ) ในสาขาวิชานั้น ๆ เพื่อเป็นผู้อ่านประเมินบทความ (Peer Review) บทความวิจัยจำนวนอย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ และบทความอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ท่านต่อบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความ (Double-Blind) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

         2. ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านประเมินบทความ และเป็นผู้ให้ความเห็นและข้อแนะนำว่าบทความนั้น ๆ สมควรจะได้รับการยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข หรือ ยอมรับโดยมีเงื่อนไขให้แก้ไข และนำส่งผลประเมินภายใน 4-6 สัปดาห์ ผู้แต่งจะต้องทำการแก้ไขและนำส่งบทความที่แก้ไขนั้นอีกครั้งภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับผลการประเมิน (มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ประสงค์จะตีพิมพ์)

         3. ในกรณีบทความที่แก้ไขแล้วจากผลประเมินแบบ Major Revision ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจะต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าบทความที่แก้ไขแล้วดังกล่าวเป็นที่ยอมรับเพื่อการตีพิมพ์ได้

         4. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายที่จะตอบรับการตีพิมพ์หรือไม่ หากมีความไม่สอดคล้องของผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่านในบทความวิจัย และ 2 ท่านในบทความอื่น ๆ

         5. บทความสามารถจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้นและผ่านการตรวจพิสูจน์อักษรเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในข้อความและการพิมพ์

         6. ในกรณีที่เป็นภาษาอังกฤษบทความดังกล่าวต้องผ่านการตรวจการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยผู้ชำนาญมาแล้ว

         7. นอกจากนี้กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการตีพิมพ์หากค้นพบว่าบทความได้รับการตีพิมพ์ในแหล่งอื่นมาก่อนแล้ว หรือเป็นการลอกเลียนมาจากแหล่งอื่นหรือเข้าข่าย Plagiarism ตามหลักสากล

         8. บทความทุกชิ้นจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณา และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะปฏิเสธไม่รับบทความหรือผลงาน ไม่ว่าจะเป็นบทความรับเชิญหรือในกรณีอื่น

         9. ทุกบทความที่ได้ผ่านการคัดเลือกเพื่อพิมพ์เผยแพร่จะถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา

        10. กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้แต่งทราบภายในระยะเวลา 4-6 สัปดาห์ หากได้รับผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิตรงตามกำหนดเวลา

        11. กองบรรณาธิการไม่รับผิดชอบข้อผิดพลาดในบทความ ที่เกิดจากความผิดพลาดของผู้แต่ง

        12. ในการจัดทำบทความผู้แต่งจะต้องจัดทำบทความในรูปแบบที่ทางวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมากำหนดไว้ โดยสามารถดาวน์โหลดรูปแบบและส่งบทความผ่านระบบ Online Submission ได้ทางระบบ ThaiJo ของวารสาร

        13. หากบรรณาธิการรับบทความไว้พิจารณา ทางกองจัดการวารสารจะแจ้งผลไปที่ผู้แต่งทางระบบ ThaiJo หรืออีเมล

        14. เมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ ผู้แต่งสามารถ Download วารสารเรื่องนั้น ๆ ในฉบับที่บทความนั้นตีพิมพ์ได้จากระบบ ThaiJo ของวารสาร

คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง 

รูปแบบการพิมพ์บทความ บทความต้นฉบับจะต้องทำส่งมาในรูปแบบดังต่อไปนี้

         1. ขนาดกระดาษ จัดพิมพ์ลงโปรแกรม Microsoft Word กระดาษ A4

         2. ขอบกระดาษ

           - ขอบล่าง (Botton Margin) และขอบขวา (Right Margin) 2.54 เซนติเมตร (1นิ้ว)

           - ขอบบน (Top Margin) 3.17 เซนติเมตร (1.25 นิ้ว)

           - ขอบซ้าย (Left Margin) 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว)

         3. รูปแบบตัวอักษร แบบตัวอักษรใช้ TH SarabunPSK ทั้งบทความ

         4. การย่อหน้า ส่วนเนื้อหา ย่อหน้า 3 Tab (ตั้งค่า tab ละ 0.5 เซนติเมตร)

         5. ความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ทั้งนี้รวมรูปภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง (ใช้ APA Style 7th edition) ทั้งภายในและส่วนท้ายบทความ  

องค์ประกอบของการเขียนบทความ

         1. ชื่อเรื่อง (Title)
           - ภาษาไทย-อังกฤษ ขนาด 18 point กำหนดกลางหน้ากระดาษ ตัวหนา
           - ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก

         2. ชื่อ-สกุลและประวัติผู้แต่ง (ทุกคน)

           - ชื่อ-สกุล ภาษาไทย-อังกฤษ ขนาด 16 point กำหนดกลางหน้ากระดาษทั้งหมด และมีเลขลำดับท้ายชื่อ-สกุล

           - ประวัติผู้แต่งประกอบด้วยต้นสังกัด Email Address และ เบอร์โทรศัพท์ (เฉพาะผู้รับผิดชอบบทความ) โดยการ แทรกเชิงอรรถไว้ที่ส่วนท้ายกระดาษ

         3. บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ต้องผ่านการตรวจพิสูจน์โดยผู้ชำนาญ)

           - ชื่อ “บทคัดย่อ” และ “Abstract” ขนาด 16 point กำหนดชิดซ้าย ตัวหนา เว้น 1 บรรทัด
           - Text บทคัดย่อภาษาไทย – อังกฤษขนาด 16 point จัดข้อความกระจาย ชิดขอบ
           - ความยาวของบทคัดย่อภาษาไทยไม่เกิน 350 คำและมีเนื้อหาที่ตรงกับภาษาอังกฤษ
           - ความยาวรวมไม่เกิน 1 หน้า ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหาในบทคัดย่อควรระบุวัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัยและบทสรุปโดยย่อ

         4. คำสำคัญ (Keywords)
           - พิมพ์ต่อจากส่วนบทคัดย่อ และอยู่ในหน้าเดียวกันกับบทคัดย่อ ทั้งภาษาไทย-อังกฤษ ขนาด 16 point
           - ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานและเป็นคำหลักที่ใช้ในการอ้างอิง ค้นหา ไม่เกิน 5 คำ

หมายเหตุ ในข้อ 1- 4 ภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้อยู่คนละหน้ากัน

         5. เนื้อหา (Body) ขนาด 16 point พร้อมเลขหน้ากำหนดมุมบนด้านขวา ประกอบด้วย

          - บทความ

          - วัตถุประสงค์

          - กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)

          - สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

          - วิธีการดำเนินการวิจัย

          - ผลการวิจัย

          - อภิปรายผล

          - บทสรุป

          - ข้อเสนอแนะ

          - บรรณานุกรม (ใช้ APA Style 7th edition) ทั้งในเนื้อหาและส่วนท้ายบทความ

การเขียนบรรณานุกรม

ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหา

         1. ผู้แต่ง 1 คน

ภาษาไทย : (ชื่อ นามสกุล, ปีพิมพ์) หรือ (องค์กร, ปีที่พิมพ์)

ภาษาอังกฤษ : (Last Name, Year) or (Organization, Year)

ตัวอย่าง

(ชุติมา สัจจานันท์, 2546)

(Abrams, 2018)

         2. ผู้แต่ง 2 คน

ภาษาไทย : (ชื่อ นามสกุล1 และ ชื่อ นามสกุล2, ปีพิมพ์)

ภาษาอังกฤษ : (Last Name1 and Last Name2, Year)

ตัวอย่าง

(สุภาภรณ์ เต็งไตรสรณ์ และ นริสา รัตนเลิศ, 2563).

(Stein and Hollen, 2021)

         3. ผู้แต่ง 3+ คน

ภาษาไทย : (ชื่อ นามสกุล และคณะ, ปีที่พิมพ์)

ภาษาอังกฤษ : (Last Name et al., Year)

ตัวอย่าง

(สรญา แสงเย็นพันธ์ และคณะ, 2565)

(Harris et al., 2018)

 การอ้างอิงท้ายบทความ  

          การลงชื่อผู้แต่ง

         1. ผู้แต่ง 1 คน

ชื่อ นามสกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สํานักพิมพ์.

Author, A. A. (Year)./Title of the book/(Edition ed.)./Publisher.

         2. ผู้แต่ง 2 คน

ชื่อ นามสกุล1 และชื่อ นามสกุล2./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สํานักพิมพ์.

Author, A. A.1 & Author, B. B.2 (Year)./Title of the book/(Edition ed.)./Publisher.

         3. ผู้แต่ง 3-20 คน(ใดยให้ใส่ชื่อ นามสกุลให้ครบทุกคน)

ชื่อ นามสกุล1, ชื่อ นามสกุล2345678910111213141516171819, และชื่อ นามสกุล20./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สํานักพิมพ์.

Author, A. A.1, Author, B. B.2345678910111213141516171819, และAuthor, U. U 20./(Year)./Title of the book/(Edition ed.)./Publisher.

         4. ผู้แต่งมากกว่า 21 คน

ชื่อ นามสกุล1, ชื่อ นามสกุล2345678910111213141516171819, …ชื่อ นามสกุลN./(ปีพิมพ์)./

ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่)./สํานักพิมพ์.

Author, A. A.1, Author, B. B.2345678910111213141516171819, … Author, Z. Z N./(Year)./Title of the book/(Edition ed.)./Publisher.

ตัวอย่างการอ้างอิงท้ายบทความ  

         1.หนังสือ

ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สํานักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ชุติมา สัจจานันท์. (2546). การวิจัยกับอาชีพบรรณรักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. สมาคมห้องสมุด.แห่งชาติ.

         2. หนังสือแปล

ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่องหนังสือภาษาต้นฉบับ/[ชื่อหนังสือภาษาไทย]/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์.

          ตัวอย่าง

แบรี่ สมาร์. (2555). Michel Foucault [มิเชล ฟูโกต์]. ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).

         3. วารสาร

ชื่อ นามสกุล./(ปี)./ชื่อเรื่อง:/ชื่อเรื่องย่อย./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า./URL

Contributor, A. & Contributor, B./(Year)./Title:/ Sub-title./Journal,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า./URL.

          ตัวอย่าง

ภัทรพร ตั้งสุขฤทัย. (2547, พฤศจิกายน-ธันวาคม). กินอาหารไม่เป็นโรคอ้วน. หมออนามัย. กรุงเทพฯ :สำนักงานของวารสารหมออนามัย. 14(3), 54-59.

Herculano-Houzel, S., Collins, C. E., Wong, P., Kaas, J. H., & Lent, R. (2008). The basic nonuniformity of the/cerebral cortex. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, 105(34), 12593-12598. https://www.pnas.org/ doi/full/10.1073/pnas.0805417105.

         4. วิทยานิพนธ์

          4.1 วิทยานิพนธ์ที่ไม่ได้ตีพิมพ์

ชื่อ นามสกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์หรือวิทยานิพนธ์/ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]./ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง

อุดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์. (2554). ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเดินที่ประยุกต์ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

           4.2 วิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์

ชื่อ นามสกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/(หมายเลข UMI หรือ เลขลำดับอื่น ๆ) [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ชื่อมหาวิทยาลัย]./URL.

ตัวอย่าง

กฤษณา ทรัพย์สมบูรณ์. (2560). การศึกษาการปฏิบัติบทบาทผู้นำการพยาบาลทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58250.

         5. รายงานการประชุมเชิงวิชาการที่มี proceeding

ชื่อ นามสกุล./(ปี)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก.),/ชื่อหัวข้อการประชุม./ชื่อการประชุม/(น./เลขหน้า)./URL.

Contributor, A. & Contributor, B./(Year)./Title./In/ Editor /(Ed. หรือ Eds.), Title of conference./Title of conference /(pp./xx-xxx)./URL.

ตัวอย่าง

วิศวะ กลับกลาย, อลิสา คุ่มเคี่ยม, และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2553). ผลการพัฒนาบทเรียนสําเร็จรูป เรื่อง  ภาษาไทยถิ่นใต้ ตําบลเตราะบอน อําเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน มนัส สุวรรณ (บ.ก.), การจัดการเรียนรู้ การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 53 (น. 3–14). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Zegwaard, K. E., & Hoskyn, K. (Eds.). (2015). New Zealand Association for Cooperative Education 2015conference proceedings: Refereed proceedings of the 18th New Zealand Association for Cooperative Education conference. New Zealand Association for Cooperative Education. https://www.nzace.ac.nz/wp-content/uploads/2016/06/ 2015 -wellington.pdf.

         6. รายงานการประชุม/การสัมมนา/อภิปราย

ชื่อหน่วยงานที่จัดประชุม./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่องการประชุม./ชื่อการประชุม./สถานที่จัดประชุม.

 ตัวอย่าง

ที่ประชุมคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยของรัฐ. (2565). การประชุมสามัญที่ประชุมคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับ. บัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 53. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

         7. หนังสือพิมพ์

ชื่อผู้แต่ง./(วัน/เดือน/ปี)./ชื่อคอลัมน์./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.

ตัวอย่าง

วิวัฒนชัย อัตถากร. (2548, 27 เมษายน). อุดมศึกษาไทยในทางแพ่ง. มติชน. 7.

         8. เว็บไซต์

ชื่อ นามสกุลผู้เขียน./(วัน/เดือน/ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL.

Author, A. A./(Year, Month date)./Title of the work: Subtitle./Website name./URL.

ตัวอย่าง

สรญา แสงเย็นพันธ์. (18 กันยายน 2561). มาทำความเข้าใจระบบสี CMYK กับ RGB. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. https://www.nupress.grad.nu.ac.th/cmyk-and-rgb/

Sparks, D. (2019). Women’s wellness: Lifestyle strategies ease some bladder control problems. Mayo Clinic. https://newsnetwork.mayoclinic.org/discussion/womens-wellness-lifestyle -strategies-ease-some-bladder-control-problems/       

การอ้างอิงตาราง

การแสดงภาพและรูปภาพ (Figure) ให้พิมพ์คำว่า “ภาพประกอบที่...” ตามด้วยลำดับที่ของภาพ 1, 2, 3… ไว้ด้านล่างของภาพหรือรูปนั้นพร้อมชื่อรูปภาพ

การพิมพ์ตาราง (Table) ให้พิมพ์คำว่า “ตารางที่...” ตามด้วยลำดับที่ของตาราง 1, 2, 3… ไว้ด้านบนของตาราง และมีชื่อตาราง

การอ้างอิงภาพ

         1. จากหนังสือ

จาก/ชื่อหนังสือ/(น./เลขหน้า),/โดย/ชื่อผู้แต่ง,/ปีพิมพ์,/สำนักพิมพ์/(URL)./ลิขสิทธิ์/ข้อความการอนุญาต.

From/BookName/(p./PageNumber),/by/Author,.A,/Year,/Publisher/(URL)./Copyright/Permission

ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 1 การเขียนความเป็นมาของปัญหา

หมายเหตุ : จาก ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ : จากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2 น. 32), โดย ชำนาญ ปาณาวงษ์, 2563, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. สงวนลิขสิทธิ์ 2563 โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. ดัดแปลงโดยได้รับอนุญาต.

การเขียนอ้างอิงท้ายบทความ

ชำนาญ ปาณาวงษ์. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ : จากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฎิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

        2. จากเว็บไซต์

จาก/ชื่อบทความ,/โดย/ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่เผยแพร่,/ชื่อเว็บไซต์/(URL)./ลิขสิทธิ์/ข้อความอนุญาต.

From/Title,/by/Author, A. A,/Year,/Site Name/(URL)./Copyright/Permission.

ตัวอย่าง

 

 ภาพประกอบที่ 1 การพบปะกันระหว่างคิมจองอึน (Kim Jong-un) ผู้นำเกาหลีเหนือประธานาธิบดีมุนแชอิน (Moon Jae-in) ผู้นำเกาหลีใต้ และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ผู้นำสหรัฐอเมริกาที่พื้นที่ปลอดทหาร(demilitarized zone) ระหว่างเกาหลีทั้งสอง เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2019.

หมายเหตุ : จาก President Trump Meets with Chairman Kim Jong Un โดย The White House, 2561. Commons wikimedia (https://commons.wikimedia.org/wiki/File:President_ Trump_Meets_with_Chairman_Kim_Jong_Un_(48164732021).jpg). CC BY-NC-ND.

การเขียนอ้างอิงท้ายบทความ

The White House. (2019). President Trump Meets with Chairman Kim Jong Un. [Image]. Retrieved from https://commons.wikimedia.org/wiki/File:President_Trump_Meets_ with_Chairman_Kim_ Jong_Un_(48164732021).jpg.

        3. จากวารสาร

จาก/”ชื่อบทความ,”/โดย/ชื่อผู้แต่ง,/ปีพิมพ์/ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/น./เลขหน้า/(URL)./ลิขสิทธิ์/ข้อความการอนุญาต.

From*/”Title journal,”/by/Author, A. A,/Year/JournalTitle,/Volume(issue),/p. PageNumber (url or doi if from an ejournal)./Copyright/Permission.

ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 1 แผนที่พื้นที่ศึกษา

Note :   From “Development of Flood Drain Direction using Mobile GIS and Spatial Interpolation Techniques in Municipality of Khon Kaen, Thailand” by Pawattana, C., และ Jeefoo, P., 2565, Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), 30(3), p. 12. (https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/Vol-30-No-3-2022-11-22). Copyright 2022 by CC BY-NC-SA.

การเขียนอ้างอิงท้ายบทความ

Pawattana, C., & Jeefoo, P. (2021). Development of Flood Drain Direction using Mobile GIS and Spatial Interpolation Techniques in Municipality of Khon Kaen, Thailand. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), 30(3), 11-22. Retrieved from https://www.journal.nu.ac.th/NUJST article/view/Vol-30-No-3-2022-11-22.

 อัตราค่าตีพิมพ์บทความ 

วารสารในฉบับปฐมฤกษ์ 6 ฉบับแรก ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

 ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ

บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมาถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากคณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมาก่อนเท่านั้น

นโยบายส่วนส่วนบุคคล

ชื่อและอีเมลที่กรอกลงในระบบ ThaiJo ของวารสารนี้จะใช้สำหรับงานวารสารเท่านั้น จะไม่นำไปใช้ประโยชน์ในงานอื่นหรือเปิดเผยให้หน่วยงานหรือบุคคลอื่นใดทราบ

ติดต่อกองจัดการวารสาร

          อีเมล              jhs@nmc.ac.th

          Facebook       @jhs.nmc

          โทรศัพท์          044 466 111 ต่อ 116, 063-5654154

คู่มือการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร

ตัวอย่างรูปแบบการจัดพิมพ์บทความวิจัย

แบบฟอร์มสำหรับเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย (Download) 

รูปแบบการตีพิมพ์บทความลงวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา

ขั้นตอนการตีพิมพ์