ผลของการใช้บอร์ดแผ่นภาพต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
คำสำคัญ:
บอร์ดแผ่นภาพ, การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ, ประสิทธิภาพการสื่อสารบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้บอร์ดแผ่นภาพ ต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่ใส่ท่อช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่ใส่ท่อช่วยหายใจ จำนวน 30 คน ที่ได้รับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ โรค และการผ่าตัด 2) แบบประเมินประสิทธิภาพการสื่อสาร ได้แก่ การใช้เวลาในการสื่อสาร การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ผ่านการตรวจคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of consistency: IOC) ได้เท่ากับ 0.66-1.00 3) แบบสอบถามความคิดเห็นในการสื่อสารด้วยบอร์ดแผ่นภาพของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ลักษณะเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ ผ่านการตรวจคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้เท่ากับ 0.66-1.00 4) บอร์ดแผ่นภาพซึ่งทำด้วย ฟิวเจอร์บอร์ดขนาด กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร ผ่านการตรวจคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจสอบดัชนีค่าความสอดคล้อง (IOC) ได้เท่ากับ 0.66-1.00
ผลการวิจัยพบว่า เวลาที่ใช้ในการสื่อสารก่อนการใช้บอร์ดแผ่นภาพมีค่าเฉลี่ย 37.5 วินาที เวลาที่ใช้ใน การสื่อสารหลังการใช้บอร์ดแผ่นภาพมีค่าเฉลี่ย 4.0 วินาที การใช้เวลาในการสื่อสารก่อนและหลังใช้บอร์ดแผ่นภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 การตอบสนองความต้องการผู้ป่วยได้ถูกต้องก่อนการใช้บอร์ดแผ่นภาพ ค่าเฉลี่ยร้อยละ 56.66 การตอบสนองความต้องการผู้ป่วยได้ถูกต้องหลังการใช้บอร์ดแผ่นภาพ ค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.66
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ เจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยสามารถนำบอร์ดแผ่นภาพไปใช้ในการสื่อสารกับผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อเป็นทางเลือกในการสื่อสารกับผู้ป่วยต่อไป และนำบอร์ดแผ่นภาพไปใช้กับผู้ป่วย ที่ใส่ท่อช่วยหายใจในหน่วยงานอื่น ๆ
References
เกียรติวรรณ การสะอาด, วาสนา รวยสูงเนิน, และ สัญพิชา ศรภิรมย์. (2566). การตอบสนองต่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจบกพร่อง: ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการดูแลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. ศรีนครินทร์เวชสาร, 38(2), 197-202.
พิเชษฐ เพียรเจริญ. (2557). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/viewFile/583/548
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2561) สถิติผ่าตัดหัวใจ ปีงบประมาณ 2559 ถึง 2561. (ม.ป.ท.)
วไลพร ปักเคระกา, อภิญญา วงศ์พิริยโยธา, นริสา วงศ์พนารักษ์, และ ณัฐวุฒิ สุวรรณทา. (2556). ผลของการสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์มือถือต่อความพึงพอใจในการสื่อสารของผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ, วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(2), 72-79
อังคณา สมคง, สุทัศน์ ศุภนาม, และ กรรณิกา รักยิ่งเจริญ. (2564). ผลของโปรแกรมการสื่อสารทางบวกต่อความเครียดและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยวิกฤต. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(2), 100-110.
Das, S., Xavier, B. & Begum, F. (2015). Effectiveness of communication board on the communication pattern and level of satisfaction among the patients on mechanical ventilator in IMS & Sum Hospital, Bhubaneswar. International Journal of Practical Nursing, 3(3), 97–107. https://doi.org/10.21088/ijpn.2347.7083.3315.3
Hardin, S. R., & Kaplow, R. (2019). Cardiac surgery essentials for critical care nursing (3rd ed.). Jones & Bartlett Learning.
Holm, A., & Dreyer, P. (2018). Use of communication tools for mechanically ventilated patients in the Intensive Care Unit. Computers, Informatics, Nursing, 36(8), 398–405. https://doi.org/10.1097/cin.0000000000000449
Hosseini, S. R., Valizad-Hasanloei, M. A., & Feizi, A. (2018). The effect of using communication boards on ease of communication and anxiety in mechanically ventilated conscious patients admitted to intensive care units. Iranian journal of nursing and midwifery research, 23(5), 358–362. https://doi.org/10.4103/ijnmr.IJNMR_68_17
Karlsson, V., Forsberg, A., & Bergbom, I. (2012). Communication when patients are conscious during respirator treatment - a hermeneutic observation study. Intensive and Critical Care Nursing, 28(4), 197–207. https://doi.org/10.1016/j.iccn.2011.12.007
Khalaila, R., Zbidat, W., Anwar, K., Bayya, A., Linton, D. M., & Sviri, S. (2011). Communication difficulties and psychoemotional distress in patients receiving mechanical ventilation. American Journal of Critical Care, 20(6), 470–479. https://doi.org/10.4037/ajcc2011989
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.