การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • อภันตรี กองทอง โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย, สุโขทัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวทางการดูแล, รูปแบบการดูแล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ดูแลหลัก และทีมสหสาขาวิชาชีพ การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการดูแล 3) นำรูปแบบที่พัฒนาไปใช้ และ 4) ประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือที่ใช้คือ รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วย แบบประเมินความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองของผู้ดูแล และความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย หน่วยดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ทีมสหาสาขาวิชาชีพ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี แผนการดูแล และแนวปฏิบัติทางคลินิก หลังพัฒนารูปแบบการดูแล พบว่ากลุ่มผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในวันจำหน่าย และหลังจำหน่าย 2 สัปดาห์มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ใช้รูปแบบการดูแลก่อนพัฒนาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.02, p=.02) มีระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มก่อนพัฒนาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.03) แต่อัตราการติดเชื้อปอดอักเสบ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการเกิดแผลกดทับของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ผู้ดูแลมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองมากกว่ากลุ่มก่อนพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .001) และทีมสหสาขาวิชาชีพพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก ดังนั้นจึงควรใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พัฒนาขึ้นในการดูแลผู้ป่วย และทีมสุขภาพควรติดตามคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่อง

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.(2562). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านสาธารณสุขและPA. สืบค้นจาก http://www.bps.moph.go.th/new_bps/StrategyPlanPA (25 มีนาคม 2562)

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.(2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: อิโมชั่น อาร์ต จำกัด.

งานเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. (2562). ระบบ Hos Xp.: งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย.

จิตลัดดา ประสานวงศ์, ปฐมวดี สิงห์ดง, และรสสุคนธ์ สามแสน. (2555). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารกองการพยาบาล, 39(2), 51-65.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, และอามีนะห์ เจะปอ. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลกปี 2561.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/ _2561.pdf. (23 มีนาคม 2562)

บุญญรัตน์ เพิกเดช. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 34(3), 7-21.

ปราณี เกสรสันติ์, ณาตยา ขนุนทอง, ขนิษฐา พันธุ์สุวรรณ, และวราพร พลายชุมพล. (2560). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน โดยใช้ IDEAL Patient Care Model ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารการพยาบาลและกรดูแลสุขภาพ, 35(2), 111-121.

ลินดา สันตวาจา, และศรัญญา บุญโญ. (2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี. วารสารกองการพยาบาล, 42(1), 91-112.

สถาบันประสาทวิทยา. (2552). รายงานการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบทางการแพทย์ระดับตติยภูมิและสูงกว่าด้านโรคหลอดเลือดสมอง. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อรุณรัตน์ อินทสุวรรณ. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรงพยาบาลระนอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 30(4), 335-343.

อุไร ดวงแก้ว, และอภิญญา จำปามูล. (2561). ผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกต่อระยะวันนอน ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลและความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(3), 42-50.

Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed.) Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Borg, W. R. & Gall, M.D. (1983). Research: An introduction (4th ed.). Longman: New York.

Murray, C. J. & Lopez, A. D. (1997). Alternative projections of mortality and disability by cause 1990-2020: Global Burden of Disease Study. Lancet, 349(9064), 1498-504.

Polit, D. F. & Beck, T. B. (2008). Nursing research: Generating and assign evidence for nursing practice (8th ed.). Philadelphias: Lippincott.

Powell, S. K. & Tahan, H. A. (2010). Case management: A practical guide for education and practice (3nd ed.). Philadelphia: F.A Davis company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-03