ผลการใช้ Hip Abduction Pillow ต่อความปวดขณะพลิกตะแคงตัว อัตราการเกิดแผลกดทับและข้อสะโพกเทียมหลุดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

ผู้แต่ง

  • วรภักดิ์สกุล สุขดี โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก

คำสำคัญ:

หมอน Hip abduction pillow, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม, ข้อสะโพกเคลื่อนหลุด, ปวดแผลหลังผ่าตัดข้อสะโพกเทียม, แผลกดทับ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้หมอน Hip abduction pillow ต่อความปวดขณะพลิกตะแคงตัว อัตราการเกิดแผลกดทับและข้อสะโพกเทียมหลุดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก 64 ราย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แล้วแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วย 1) หมอน Hip Abduction  Pillow 2) แบบประเมินความเจ็บปวด 3) แบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับ และ 4) แบบบันทึกข้อสะโพกเทียมหลุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon singed rank test และ Fisher’s Exact test ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียบที่ใช้หมอน Hip abduction pillow มีระดับความปวดลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้หมอน Hip abduction pillow (p<0.001) แต่อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับและข้อสะโพกเทียมหลุด ของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ดังนั้นพยาบาลจึงควรนำหมอน Hip abduction pillow ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในรายอื่นๆต่อไป

References

กนกพร จิวประสาท. (2562). การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก: ประเด็นท้าทายทางการพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล, 21(1), 51-66.

คุณัสปกรณ์ มัคคัปผลานนท์ และ ปุณฑรี ศุภเวช. (2559). การดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University, 3(6), 57-66.

พัชราพร ตาใจ, บุญญภักดิ์ เห่งนาเลน, และเยาวลักษณ์ สงวนพานิช. (2563). กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ: บทบาทพยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(4), 116-128.

สมใจ โจ๊ะประโคน, อำพล บุญเพียร, และปฐมา จันทรพล. (2564). การพัฒนานวัตกรรมหมอนหนุนกะลาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ สำหรับผู้มารับบริการโรงพยาบาลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(1), 71-81

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (n.d.). รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 จาก http://www.thaincd.com/document/file/violence/.pdf

Gefen, A., Brienza, D. M., Cuddigan, J., Haesler, E., & Kottner, J. (2022). Our contemporary understanding of the aetiology of pressure ulcers/pressure injuries. International wound journal, 19(3), 692–704.

Glinskaya, E., Walker, T., & Wanniarachchi, T. (2021). Caring for Thailand’s Aging Population. Washington, D.C.: World Bank.

Mc Donald, C. K. (2021). Hip abduction pillow use following total hip arthoplasty does not decrease acute hip dislocation rates. Acta Orthopaedica Belgica, 88(Sup.2), 26-30.

Saul, D., Riekenberg, J., Ammon, J. C., Hoffmann, D. B., & Sehmisch, S. (2019). Hip fractures: Therapy, timing, and complication spectrum. Orthopaedic Surgery, 11(6), 994-1002. https://doi.org/10.1111/os.12524

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-03