ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของผู้คลอดครรภ์แรก
คำสำคัญ:
โปรแกรม, การเผชิญการเจ็บครรภ์คลอด, พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้เป็นการศึกษาแบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลองครั้งเดียว เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของ ผู้คลอดครรภ์แรกที่มาคลอดในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญการ เจ็บครรภ์คลอด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) โปรแกรมส่งเสริมการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอด 3) แบบประเมินระดับความเจ็บปวด ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติการทดสอบค่าไคว์สแคว์ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า ผู้คลอดที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอด มีระดับความเจ็บปวดน้อยกว่าผู้คลอดที่ได้รับ การพยาบาลตามปกติ ในระยะปากมดลูกเปิดช้า ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว และระยะเปลี่ยนผ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเผชิญความความเจ็บปวดมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในทุกระยะของการคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)
References
เกศินี ไชยโม, จันทิมา ขนบดี และศรีสมร ภูมนสกุล. (2561). ผลของโปรแกรมการให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอด ต่อการรับรู้ประสบการณ์การคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก. วารสารพยาบาลตำรวจ, 10(2), 400-411.
จันทนา โปรยเงิน, ศิริวรรณ แสงอินทร์ และ วรรณทนา ศุภสีมานนท์. (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองในการคลอดต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอดและการควบคุมตนเองระหว่างการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(1), 1-12.
ฉวี เบาทรวง และสุพิศ รุ่งเรืองศรี. (2537). ผลของการการสัมผัสต่อการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอด (รายงานผลการวิจัย). ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์และนรีวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์, และเกสร สุวิทยะศิริ. (2562). การพยาบาลในระยะคลอด. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันพระบรมราชชนก, โครงการสวัสดิการวิชาการ.
ธัญญารัตน์ กุลณีจิตต์เมธี. (2560). ความปวดและการจัดการความปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอด. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมาร, 6(2), 158-165.
ปาริฉัตร อารยะจารุ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ และ วรรณา พาหุวัฒนกร. (2555). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อความวิตกกังวล ระดับความเจ็บปวด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารสภาการพยาบาล, 27(4), 96-108.
นันทพร แสนศิริพันธ. (2556). ความกลัวการคลอดบุตร. วารสารพยาบาลสาร, 40(ฉบับพิเศษ มกราคม พ.ศ. 2556), 103 -112
นันทพร แสนศิริพันธ์ และ สุกัญญา ปริสัญญกุล. (2558). การพยาบาลในระยะคลอด:แนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. เชียงใหม่: ครองช่างพริ้นติ้ง.
ไพรินทร์ สุคนธ์ตระกูล. (2559). ความก้าวหน้าของการคลอดกับบทบาทพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(2), 1-6.
มาวศรี มานุช และ สุนันทา ศรีมาคำ. (2562). ความสุขสบายท่ามกลางความปวดในระยะคลอด : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารกระทรวงสาธารณสุข, 29(2), 1-11.
หญิง แท่นรัตน์, พิริยา ศุภศรี และวรรณทนา ศุภสีมานนท์. (2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดต่อคะแนนความเจ็บปวด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครั้งแรก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 33(3), 64-72.
สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล และ ปราณิสา กิตติปฤษฎา. (2557). ผลของโปรแกรมให้ความรู้และการช่วยเหลือของญาติต่อความเจ็บปวด ความกลัว และความวิตกกังวลของผู้คลอดครรภ์แรกในระยะที่หนึ่งของการคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 36(1), 23-30.
Abushaikha, L. A. (2007). Methods of coping with labor pain used by Jordanian women. Journal of Transcultural Nursing, 18(1), 35-40.
Dick-Read, G. (2004). Childbirth without fear (2nd ed.). London: Pinter & Martin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.