การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมการดูแลแผล โรงพยาบาลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
รูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัว, การพยาบาลทางไกล, การดูแลแผลบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ชนิดมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลแผลที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม ของครอบครัวผ่านการพยาบาลทางไกล โรงพยาบาลแม่ทะ อ.แม่ทะ จังหวัดลำปาง ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูล 2) การออกแบบ 3) ทดลองใช้ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บาดเจ็บมีบาดแผลผ่าตัดขนาดเล็กและครอบครัวที่ดูแลแผลภายใน 7 วันจำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา ได้แก่ รูปแบบการดูแลแผลที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวผ่านการพยาบาลทางไกลและ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวัดความรู้ 2) แบบประเมินการรับรู้ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลแผล และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจรูปแบบการดูแลแผลที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวผ่านการพยาบาลทางไกล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลจากการวิจัยพบว่า หลังได้รับรูปแบบการดูแลแผลที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวผ่านการพยาบาลทางไกลกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) มีการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด พฤติกรรมการดูแลแผลดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ < 0.05 และระดับความพึงพอใจในรูปแบบการดูแลแผลฯ อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ การให้ครอบครัวมีส่วนร่วมและการใช้เทคโนโลยีการพยาบาลทางไกลเข้ามาประยุกต์ใช้เป็นระบบที่เข้าถึงและเข้าใจง่าย สร้างความมั่นใจให้ดูแลแผลอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรมีการขยายผลแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยที่ต้องทำแผลเย็บที่บ้าน ในหน่วยงานอื่น หรือนำไปประยุกต์ใช้ในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในกรณีที่แตกต่างไป
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
จันทร์จิรา สีสว่าง, ปุลวิชช์ ทองแตง, พัชรรินทร์ เนียมเกิด, และ จงจิตร ตัณฑโพธิ์ประสิทธิ์. (2565). การมีส่วนร่วมของครอบครัว: กลยุทธ์สนับสนุนการให้ความร่วมมือในการรักษาในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 28(2), 159-169.
ชาติชาย คล้ายสุบรรณ. (2564). ลักษณะการเจ็บป่วยในห้องฉุกเฉินที่ควรควบคุมด้วยบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร.บูรพาเวชสาร, 8(2), กรกฎาคม – ธันวาคม.
พิกุล กันทะพนม. (2563). การพัฒนาและการใช้แบบบันทึกการจัดการบาดแผลสำหรับผู้บาดเจ็บในแผนกฉุกเฉิน (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่). บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิราลักษณ์ ลาภหลาย และ มารศรี ปิ่นสุวรรณ์. (2563). การใช้ Telehealth ดูแลผู้ป่วยบาดแผลเรื้อรังในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19. สืบค้นจาก http://www.ayhosp.go.th/ayh/index.php/ic- news/156-ha/quality-day-2563/5594-wound-care-challenges-and-solutions-bytelehealth - during-the-covid-19-pandemic - qd63
วิริยภรณ์ สิงห์ทองวรรณ และ สุพัตรา ปวนไฝ. (2564). ผลของการพยาบาลทางไกลต่อความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจำหน่ายกลับบ้าน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. วารสารพยาบาล, 35(1), 112-126.มกราคม – มีนาคม, 148-159.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562 – 2564 (ฉบับปรับปรุงจากแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ 2560-2564). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน-แห่งชาติ.
งานเวชระเบียน แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่ทะ. (2566). สถิติผู้รับบริการงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน 2564-2566. งานเวชระเบียน. โรงพยาบาลแม่ทะ.
สุดารัตน์ ควระพฤกษ์, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, และ สุรีพร ธนศิลป์. (2557). ผลของโปรแกรมการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลต่อความรู้สึกทุกข์ทรมานของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ ความวิตกกังวลและความพึงพอใจของครอบครัว. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 41(1), 96-108.
สุปาณี เสนาดิสัย และ วรรณภา ประไพพานิช. (2560). การพยาบาลพื้นฐาน: ปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท จุดทอง จำกัด.
อัมภิชา นาไวย์. (2551) ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง. โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Bhuva, S., Lankford, C., Patel, N., & Haddas, R. (2020). Implementation and patient satisfaction of telemedicine in spine physical medicine and rehabilitation patients during the COVID-19 shutdown. American Journal of Physical Medicine & Rehabilitation, 99(12), 1079–1085. https://doi.org/10.1097/PHM.0000000000001600
Bratton, S. C., Ray, D. C., Rhine, T., & Jones, L. (2005). The efficacy of play therapy with children: A meta-analytic review of treatment outcomes. Professional Psychology: Research and Practice, 32(5), 376-390. https://doi.org/10.1037/0735-7028.32.5.376
Dubois, G., Vasseur-Binachon, B., & Yoshimoto, C. (2024). Clinical guidelines - Diagnosis and treatment manual. Médecins Sans Frontières.
Fleck, C. A. (2009). Why "wet to dry"?. The Journal of the American College of Certified Wound Specialists, 1(4), 109-113. https://doi.org/10.1016/j.jcws.2009.09.003
International Council of Nurses. (2001). Telenursing fact sheet. Geneva: International Council of Nurses.
Kirby, D. J., Fried, J. W., Buchalter, D. B., Moses, M. J., Hurly, E. T., Cardone, D. A., Yang, S. S., Virk, M. S., Rokito, A. S., Jazrawi, L. M., & Campbell, K. A. (2021). Patient and physician satisfaction with telehealth during the COVID-19 pandemic: Sports medicine perspective. Telemedicine Journal and E-health: The Official Journal of the American Telemedicine Association, 27(10), 1151–1159. https://doi.org/10.1089/tmj.2020.0387.
Magnus, M., Sikka, N., Cherian, T., & Lew, S. Q. (2017). Satisfaction and improvements in peritoneal dialysis outcomes associated with telehealth. Applied clinical informatics, 8(1), 214–225. https://doi.org/10.4338/ACI-2016-09-RA-0154
Schepp, K. (1995). Psychometric assessment of the preferred participation scale for parent of hospitalized children. Unpublished manuscript, University of Washington, School of Nursing, Seattle, WA, USA.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.