ผลของการใช้แนวปฏิบัติสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตต่อการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ณ ที่เกิดเหตุ นอกโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • เบญจมาศ ปิงเมือง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • วิปัศยา คุ้มสุพรรณ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติ, สัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต, ติดเชื้อในกระแสเลือด, ที่เกิดเหตุนอกโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ณ ที่เกิดเหตุ นอกโรงพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต กับกลุ่มที่ได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดิม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 56 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 28 ราย ตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด มีค่าความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ IOC = 1.0 และ 0.8 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square และ Mann Whitney

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง เข้าถึงการรักษาพยาบาลแก้ไขภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดรวดเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) โดยมีระยะเวลาแรกรับที่ ER จนถึงได้รับการแก้ไขภาวะ Sepsis กลุ่มทดลองใช้เวลาเฉลี่ย 8.5 นาที กลุ่มควบคุมใช้เวลาเฉลี่ย 32 นาที การได้รับ NSS Load 1,500 ml กลุ่มทดลองใช้เวลาเฉลี่ย 45 นาที กลุ่มควบคุมใช้เวลาเฉลี่ย 73.5 นาที และการได้รับยาปฏิชีวนะ กลุ่มทดลองใช้เวลาเฉลี่ย 52 นาที กลุ่มควบคุมใช้เวลาเฉลี่ย 73.5 นาที

ข้อเสนอแนะ ควรขยายการใช้แนวปฏิบัติสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต ในหน่วยบริการนอกโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้บุคลากรคัดกรอง สังเกตอาการและนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว

References

กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์, ธรรมศักดิ์ ทวิชศรี, ฉันทนา หมอกเจริญพงศ์, ฉันชาย สิทธิพันธ์, ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, บุญส่ง พัจนสุนทร, ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์, รังสรรค์ ภูรยานนทชัย, รัฐภูมิ ชามพูนท, สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา, อติคุณ ลิ้มสุคนธ์, และอมรชัย เลิศอมรพงษ์. (2558). การดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558. https://externinternguide.wordpress.com/wp-content/uploads/2017/12/52-septic-shock-draft-2015exin.pdf

กัญญา วังศรี. (2556). การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย The EMS system in Thailand. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(suppl), 69-73.

จิราพร ศรีพิบูลย์บัติ, ธิติพร เที่ยงแป้น, และวันดี แย้มฉาย. (2563). ผลลัพธ์ของการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแส เลือดในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(4), 638–646.

พรรณี ยอดญาติไทย, นิโลบล ทิพย์ฤาตรี, อรรถวุฒิ พรมรัตน์, และกำทร ดานา. (2566). การพัฒนาแนวทางการคัดกรองและการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะช็อคในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลยางสีสุราช. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(3), 167–177.

พัชนีภรณ์ สุรนาทชยานันท์, วนิดา เคนทองดี, และสุพัตรา กมลรัตน์. (2561). การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1), 207–215.

พิมพิมาน รุ่งวิริยะวณิช. (2565). มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 40(1), 112–118.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. (2565). อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2565). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

สมพร รอดจินดา. (2563). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 212–231.

สาธร ธรรมเนียมอินทร์. (2561). การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 16(2), 58–68.

Levy, M. M., Evans, L. E., & Rhodes, A. (2018). The Surviving Sepsis Campaign Bundle: 2018 Update. Critical Care Medicine, 46(6), 997–1000. https://doi.org/10.1097/CCM.0000000000003119

Zhang, Z., Hong, Y., Smischney, N. J., Kuo, H. P., Tsirigotis, P., Rello, J., Kuan, W. S., Jung, C., Robba, C., Taccone, F. S., Leone, M., Spapen, H., Grimaldi, D., Van Poucke, S., Simpson, S. Q., Honore, P. M., Hofer, S., & Caironi, P. (2017). Early management of sepsis with emphasis on early goal directed therapy: AME evidence series 002. Journal of Thoracic Disease, 9(2), 392–405. https://doi.org/10.21037/jtd.2017.02.10

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13

How to Cite

1.
ปิงเมือง เ, คุ้มสุพรรณ ว. ผลของการใช้แนวปฏิบัติสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตต่อการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ณ ที่เกิดเหตุ นอกโรงพยาบาล. NURS HEALTH &amp; PUB J [อินเทอร์เน็ต]. 13 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 27 มกราคม 2025];3(3):55-66. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2649