การลดปริมาณเลือดทิ้งผ่าน Arterial line ในการส่งตรวจค่า PT PTT และ INR ในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ

ผู้แต่ง

  • ขวัญล่า เผือกอ่อน โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก
  • ชัยณรงค์ หลิมเจริญ โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก
  • นงลักษณ์ บุญเยีย โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก
  • เจษฎา เมธรุจภานนท์ โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก
  • วชิรศักดิ์ ภูริสวัสดิ์ โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก
  • พิมพ์ภา ราชขวัญ โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก

คำสำคัญ:

สายสวนทางหลอดเลือดแดง, ค่าความแข็งตัวของเลือด, การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาค่าความแข็งตัวของเลือด PT PTT และ INR เปรียบเทียบระหว่างปริมาณเลือดที่ดูดจากสายสวนหลอดเลือดแดงทิ้งก่อนนำเลือดส่งตรวจ จำนวน 7 มิลลิลิตร กับ 3.5 มิลลิลิตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ระหว่างเดือน ธันวาคม 2560 ถึง มีนาคม 2561 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ประกอบด้วย เพศ การวินิจฉัย การผ่าตัด 2) แบบบันทึกค่าการแข็งตัวของเลือด และ 3) เครื่องตรวจค่าแข็งตัวของเลือด วิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบค่า PT, PTT และ INR โดยใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า ค่าความแข็งตัวของเลือด PT, PTT และ INR ระหว่างปริมาณเลือดทิ้ง จำนวน 7 มิลลิลิตร กับ 3.5 มิลลิลิตร ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อลดปริมาณการทิ้งเลือดจาก Arterial line ในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด พยาบาลสามารถ ดูดเลือดจากสายสวนหลอดเลือดแดงเพียง 3.5 มิลลิลิตรก่อนส่งตรวจการแข็งตัวของเลือดได้

References

ฉัตรสุดา เอื้อมานะพงษ์, กฤษณา พุกอิ่ม, และเพ็ญพิศ ยะชัยมา. (2559). คู่มือการดูแลผู้ใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง. http://www.policehospital.org/ckfinder/userfiles/images_pghfiles

สถิติการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก. (2559). สถิติการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. Lehavi, A., (2016). effect of heparin flush in blood drawn from arterial line on activated clotting time and thromboelastogram. Journal of Anesthesia & Clinical Research, 7(3). https://doi.org/10.4172/2155-6148.1000610

Konopad, E., Grace, M., Johnston, R., Noseworthy, T., Shustack, A. (1992). Comparison of PT and PTT values drawn by vein puncture and arterial line using three discard volumes. American Journal of Critical Care, 1(3). 94-101.

Laxson, C. J., Titler, M. G. (1994). Drawing coagulation studies from arterial lines: An integrative literature review. American Journal of Critical Care, 3(1). 16-22

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1995). Nursing research, principles and methods., Philadelphia PA, JB: Lippincott.

Templin, K., Shively, M., Riley, J. (1933). Accuracy of drawing coagulation samples from heparinized arterial lines. American Journal of Critical Care, 2(1). 88-95

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-03