การพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย
คำสำคัญ:
ระบบการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ, เชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษและศึกษาผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ จำนวน 30 ราย และพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อ จำนวน 56 ราย ระหว่าง 16 พฤษภาคม 2561 ถึง 31พฤษภาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจาย เชื้อดื้อยาควบคุมพิเศษ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบติดตามการปฏิบัติ และแบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลต่อระบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ chi square test , fisher exact test และ independent t test เปรียบเทียบอุบัติการณ์การติดเชื้อด้วยสถิติ incidence rate differences
ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อฯ ประกอบด้วย1) การให้ความรู้ 2) แนวปฏิบัติครอบคลุมกิจกรรมการป้องกันการติดเชื้อที่สำคัญ ได้แก่ การสื่อสาร การจัดสถานที่แยก การป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัส การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณเชื้อบนร่างกาย การจำหน่ายผู้ป่วย 3) เครื่องมือสนับสนุน 4) การนิเทศโดยผู้ปฏิบัติมีส่วนร่วม ผลการพัฒนาอุบัติการณ์การติดเชื้อลดลงอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) การปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อฯ ของพยาบาล คะแนนสูงขึ้นเกือบทุกกิจกรรม แต่เมื่อทดสอบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยรายด้านพบว่ามีเพียงการลดปริมาณเชื้อบนร่างกาย ที่คะแนนสูงขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) คะแนนความพึงพอใจของพยาบาลอยู่ในระดับพึงพอใจมากทุกด้าน
เจ้าหน้าที่ควรใช้แนวปฏิบัติที่ครอบคลุมกิจกรรมการป้องกันการติดเชื้อที่สำคัญ ให้ผู้ปฏิบัติมีส่วนร่วม ใช้วิธีการที่หลากหลาย และมีการนิเทศติดตามอย่างสม่ำเสมอ
References
ชมรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร. (2557). แนวทางปฏิบัติการป้องกันและควบคุมเชื้อก่อโรคดื้อยา. สำนักงานพระพุทธศาสนา.
ประจวบ ทองเจริญ, วันชัย มุ้งตุ้ย, และ อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2558). ผลการใช้กลวิธีหลากหลายต่อการปฏิบัติของบุคลากรสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน. พยาบาลสาร, 42(1), 61-73.
ปิยะฉัตร วิเศษศิริ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, และ นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรโรงพยาบาลแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสาร, 42(3), 119-134.
ภานุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ,วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, อาทร ริ้วไพบูลย์, ภูษิต ประคองสาย, และ สุพล ลิ้มวัฒนานนท์. (2555). ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 6(3), 352-360.
วิไลลักษณ์ วงศ์จุลชาติ. (2560). การใช้กลวิธีหลากหลายเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 31(3), 441-456.
วัลลภา ช่างเจรจา. (2560). ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติต่ออัตราการติดเชื้อดื้อยาที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ โรงพยาบาลบึงกาฬ. https://www.bkh.moph.go.th
ศรีสังวรสุโขทัย. (2561). รายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย 2558-2561. เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์.
สุพัตรา อุปนิสากร, กุณฑิรา ถิ่นนิคม, และ จารุวรรณ บุญรัตน์. (2561). ผลการควบคุมการเกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานในหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 31(4), 651-658.
Centers for Disease Control and Prevention. (2019). Vancomycin resistant Enterococci (VRE). In healthcare setting. https://www.cdc.gov/hai/organisms/vre/vre.html
Lewin, K. (1948). Action research and Minority Problem. Journal of Social Issues, 2(4), 34-46. https://doi.org/10.1111/j.1540-4560.1946.tb02295.x
Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health science. Biometrical Journal, 37(6), 744. https://doi.org/10.1002/bimj.4710370610
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.