การรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลกองทุนหลักประกันสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์

ผู้แต่ง

  • เตือนใจ ภาณุธนะสวัสดิ์ กลุ่มงานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การรับรู้, กองทุนหลักประกันสุขภาพ, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลศูนย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลกองทุนหลักประกันสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก มาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 341 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลกองทุนหลักประกันสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์ มีค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.82 และค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของคอร์นบาร์ชเท่ากับ 0.85 ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลวิจัยพบว่าพยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาล ดังนี้ สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่ในระดับสูง (Mean = 1.61, S.D. = 0.57) สิทธิประกันสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 1.32, S.D. = 0.61) และสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในระดับสูง (Mean = 1..47, S.D. = 0.62)  

ดังนั้นจึงควรนำผลวิจัยไปพัฒนาส่งเสริมการรับรู้สิทธิประกันสังคมของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยให้ครอบคลุมทุกกองทุนและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าต่อไป

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2567). การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย. https://hss.moph.go.th/fileupload_doc_slider/2016-12-13--498.pdf

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.

ธนิษฐา ศุภวิชย์. (2563). การรับรู้สิทธิผู้ป่วยและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(7), 42-59.

นรินทร ระวังภัย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกรณีศึกษาประชาชนอำเภอแกลง จังหวัดระยอง. http://www.mbaoneday- abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/216

ประนอม จิตต์ทะนง. (2564).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 1(3), 13-23.

ปิยะมาศ สุดชาขํา. (2560). การให้ข้อมูลตามสิทธิผู้ปวยของพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 3(1), 1-15.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2567). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา. (2563). การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอยา่งโดยใช้โปรแกรม G*power. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Al-Saadi, A. N., Slimane, S. B. A., Al-Shibli, R. A., & Al-Jabri, F. Y. (2019). Awareness of the Importance of and Adherence to Patients' Rights Among Physicians and Nurses in Oman: An analytical cross-sectional study across different levels of healthcare. Sultan Qaboos University Medical Journal, 19(3), e201–e208. https://doi.org/10.18295/squmj.2019.19.03.005

Molokomme, V. K., Seekoe, E., & Goon, D. T. (2018). The perception of professional nurses about the introduction of the National Health Insurance (NHI) in a private hospital in Gauteng, South Africa. The Open Public Health Journal, 11(1), 234-242. https://doi.org/10.2174/1874944501811010234

National Health Security Office. (2024). Health Insurance Information Service Center. http://ucinfo.nhso.go.th/.

Odeh, A., Khayat, N., Abuzahra, S., Shaheen, A., & Nazzal, Z. (2024). Exploring patients' rights awareness and implementations amongst hospitalized patients in Northern Palestine: Insights from a local perspective. BMC medical ethics, 25(1), 139. https://doi.org/10.1186/s12910-024-01139-4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-04

How to Cite

1.
ภาณุธนะสวัสดิ์ เ. การรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลกองทุนหลักประกันสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์. NURS HEALTH & PUB J [อินเทอร์เน็ต]. 4 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 6 เมษายน 2025];4(1):28-37. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/3649