ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติต่อการปฏิบัติของพยาบาล และระยะเวลาในการเริ่มการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก

ผู้แต่ง

  • นพกาญจน์ ปู่ซึ้ง ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติ, แนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก, การปฏิบัติการพยาบาล, การหย่าเครื่องช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลหลังทำการทดลอง (Posttest control group design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติต่อการปฏิบัติของพยาบาลและระยะเวลาในการเริ่ม การหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท จำนวน 15 คน และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกที่เข้ารับการดูแลที่ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จำนวน 32 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 16 คน โดยกลุ่มควบคุมพยาบาลใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามปกติ กลุ่มทดลองพยาบาลได้รับโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เครื่องมือดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมการการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ คู่มือการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพตามแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ และแบบบันทึกข้อมูลการหย่าเครื่องช่วยหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา Chi-square test และสถิติ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติในภาพรวมและกลุ่มทดลองมีระยะเวลาในการเริ่มการใช้แนวปฏิบัติสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05

โปรแกรมการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก ช่วยให้พยาบาลวิชาชีพมีทักษะในการใช้แนวปฏิบัติเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยได้รับการประเมินการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็วขึ้น

References

กิตติยากร สร้อยนาค. (2566). ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพและผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด. ประชุมวิชาการสาธารณสุข เขตสุภาพที่ 2 ปีงบประมาณ 2566.

นฤมล อนุมาศ, ชมนภัส รัตติโชติ, ประณีต ส่งวัฒนา, และ อัฐพล ชีวรุ่งโรจน์. (2566). ผลลัพธ์หลังใช้แนวปฏิบัติพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีการหย่าเครื่องช่วยหายใจยาก ณ หอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรมประสาท. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(1), 138-150.

ปราณี มีหาญพงษ์ และ กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2561). การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 9-15.

พัชลาวัล สาระพันธ์. (2567). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 9(1), 417-427.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2565). แบบเก็บข้อมูลการใช้ Weaning Protocol ในผู้ป่วย ICU อายุรกรรม.

วรรณวิมล ทุมมี. (2566). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดโรคหลอดเลือดสมองแตกโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 8(2), 545-552.

สิริประภา สายโยช์. (2558). การศึกษาภาวะการทำหน้าที่ของสมองและความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:94246.

ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2566). สถิติบริการ ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

อมรินทร์ วินไทย และวัจนา สุคนธวัฒน์. (2566). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 1 โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 6(2), 61-73.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Saeed, F. & Lasrado, S. (2019). Extubation. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539804/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-04

How to Cite

1.
ปู่ซึ้ง น. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติต่อการปฏิบัติของพยาบาล และระยะเวลาในการเริ่มการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก. NURS HEALTH &amp; PUB J [อินเทอร์เน็ต]. 4 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 6 เมษายน 2025];4(1):38-51. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/3717