การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบคู่

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี เอื้อมเก็บ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

รูปแบบการให้การปรึกษาแบบคู่, การตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี

บทคัดย่อ

งานวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาระของการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบคู่ เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบคู่ เพื่อทดลองและศึกษาผลการใช้รูปแบบการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบคู่ โดยศึกษาข้อมูลการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีของคู่ผู้ติดเชื้อ ศึกษาข้อมูลการเข้าระบบการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและคู่ ศึกษาข้อมูลสัมพันธภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและคู่ และเปรียบเทียบข้อมูลของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและคู่ก่อนและหลังใช้รูปแบบการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบคู่ ดำเนินการ 3 ระยะคือระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ปัญหาอุปสรรคการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดเอชไอวีแบบคู่ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาโดยนำปัญหาอุปสรรคและองค์ความรู้จากเอกสารงานวิจัย ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและนำมาทดลองใช้ในกลุ่มเป้าหมายปรับปรุงแก้ไขจนได้รูปแบบที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานมากที่สุด ระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบคู่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ผลตรวจเลือดติดเชื้อเอชไอวีและคู่จำนวน 30 คู่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละและการทดสอบของฟิชเชอร์

ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษาแบบคู่ได้กระบวนการสำคัญคือการให้การปรึกษาแบบคู่เน้นการให้การปรึกษาตามมาตรฐานและเพิ่มทักษะการเชื่อมโยงความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผลลัพธ์การใช้รูปแบบพบว่ามีความสัมพันธ์กับคู่ของผู้ติดเชื้อพร้อมรับการตรวจเลือดเอชไอวี ผู้ติดเชื้อและคู่ พร้อมเข้าระบบการรักษาและสัมพันธภาพผู้ติดเชื้อและคู่มีทิศทางที่ดีขึ้น

ข้อเสนอแนะควรศึกษาวิจัย การพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาในคู่เพศสัมพันธ์เพศเดียวกันเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดี การตรวจเลือดเอชไอวีแบบคู่ และการเข้าสู่กระบวนการการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและคู่ต่อไป

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การให้บริการปรึกษาเพื่อ ส่งเสริมการป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีในผู้ติดเชื้อเอชไอวี: คู่มือสำหรับผู้ให้การปรึกษา. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย. (2557). แนวทางการจัดระบบบริการในโรงพยาบาลเพื่อส่งเสริมการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์และสามี. (พิมพ์ครั้งที่1). กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.

ขวัญจิตร เหล่าทอง, เจนจิต ฉายะจินดา, สุจิตตรา พงศ์ประสบชัย, เพียงเพ็ญ ธัญญะตุลย์, พรรณราย หนูมา, อัมพัน เฉลิมโชคเจริญกิจ, และ มานพชัย ธรรมคันโธ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดเผยผลเลือด การตรวจภาวะติดเชื้อเอชไอวี ของสตรีไทย. เวชบันทึกศิริราช, 11(1), 2-8.

ต้องจิตต์ กาญจโนมัย. (2557). คู่มือวิทยากรการอบรมหลักสูตรการปรึกษาแบบคู่. กองอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารกระทรวงสาธารณสุข.

รัชนี เสนาน้อย และ เสาวคนธ์ วีระศิริ. (2562). ความเครียดและการปรับตัวของครอบครัวที่มีบุคคลติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์: การวิเคราะห์กรณีตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีการคืนสภาพครอบครัว. วารสารพยาบาลสงขขลานครินทร์, 39(4), 121-129.

วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา. (2563). การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*power. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรรณฤมิตร ชาติตระกูล. (2553). การให้คำปรึกษาแบบคู่ในสามีภรรยาที่ผลการติดเชื้อเอชไอวีต่างกัน. https://www.gotoknow.org/posts/386835.

หน่วยปรึกษาสุขภาพ โรงพยาบาลพุทธชินราช. (2561). สรุปงานประจำปี โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

อานุภาพ เลขะกุล. (2556). การแจ้งข่าวร้าย. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

World Health Organization. (2012). Guidance on couples HIV testing and counselling including antiretroviral therapy for treatment and prevention in serodiscordant couples: Recommendations for a public health approach. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23700649/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-04