การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • สุทิพา ใจสมัคร โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ, แนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้ เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก มีการดำเนินการ 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาปัญหา ปัจจุบันของแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียว 2) ระยะการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย ผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ 3) ระยะการใช้และประเมินผลแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ แบบวันเดียวกลับ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพห้องรอผ่าตัดจำนวน 6 คน และผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ วันเดียวกลับ 29 คน ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ของการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนแบบวันเดียวกลับคือ พยาบาล ห้องรอผ่าตัดมีการปฏิบัติงานไม่เป็นในแนวทางเดียวกัน การให้ความรู้ผู้ป่วยยังไม่ครอบคลุมประเด็นสำคัญทั้งหมด โดยได้พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับที่ประกอบด้วย 4 กิจกรรมพยาบาล คือ 1) การนัดผู้ป่วยผ่าตัดที่ห้องรอผ่าตัด 2) การโทรเยี่ยมผู้ปุวยล่วงหน้าก่อนผ่าตัด 1 วัน 3) การดูแลผู้ป่วยในวันเข้ารับ การผ่าตัด 4) การโทรเยี่ยมผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผลของการใช้แนวทางการดูแลผู้ปุวยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียว กลับ ท าให้พยาบาลห้องรอผ่าตัดและผู้ปุวยสามารถปฏิบัติได้เพิ่มขึ้น พยาบาลและผู้ปุวยมีความพึงพอใจต่อ แนวทางการดูแลผู้ปุวยฯ และไม่พบอุบัติการณ์ที่ผู้ป่วยถูกเลื่อนหรืองดผ่าตัดจากความไม่พร้อม ดังนั้นผู้วิจัย จึงขอเสนอแนะให้พยาบาลนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับไปพัฒนาเพื่อใช้กับผู้ปุวยที่มารับการทำหัตถการอื่น ๆ ต่อไป

References

กันยา ออประเสริฐ. (2548). กลยุทธ์ในการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด. วารสารพยาบาลห้องผ่าตัดแห่ง ประเทศไทย, 3(2), 1-4.

ฐานข้อมูลห้องผ่าตัด. (2561). โปรแกรมบันทึกข้อมูลผ่าตัดโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. พิษณุโลก: โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

ธิดา ยุคันตวรานันท์. (2559). การพัฒนาระบบการบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในเขตสุขภาพที่ 10. วิสัญญีสาร, 42(1), 116-125.

ประภา ราชา, นพรัตน์ เรืองศรี, และ จารุภา คงรส. (2562). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับ ผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับโรงพยาบาลพิจิตร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 13(3), 130-143.

ไพรวัล คงเนียม, และ กันย์สินี วิเศษสิงห์. (2562). ผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยนอกที่มารับการผ่าตัดห้องผ่าตัด โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 4(1), 1-14.

มณฑิชา กฤษบุญชู, นภวรรณ ญาณสุคนธ์, และกนิตฐา เกียรติสิริกมล. (2552). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติภายในโรงพยาบาล. รายงานการประชุม โครงการประชุมวิชาการ ประจำปี 2552 ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช วันที่ 29-30 มิถุนายน 2552 ณ โรงพยาบาลศิริราช หน้า 410-419 สืบค้นจาก https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/index.php/research/48-research-2551-07

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการการ การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ Recommendations for the development of the service system ODS (One Day Surgery). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ความปลอดภัยของการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ Safety in One Day (ODS). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

Bloom, B. A. (1959). Taxonomy of education objective handbook I: Cognitive domain. New York: David Mc Kay Company.

Jenkins, J. T., & O'Dwyer, P. J. (2008). Inguinal hernias. BMJ (Clinical research ed.), 336(7638), 269–272. doi:10.1136/bmj.39450.428275.AD

The Association of Perioperative Registered Nurses. (2006). AORN guidance statement: Creating a patient safety culture. AORN Journal, 83(4), 936–942. doi:10.1016/S0001-2092(06)60012-4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31