ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • นัฐธิรา ดวงจันทร์ โรงพยาบาลแม่ระมาด
  • เกษมณี อภิวัฒน์สมบัติ โรงพยาบาลท่าสองยาง
  • ญาณิน แซ่ว้าน โรงพยาบาลพบพระ
  • ธีรภัทร์ กลมกลิ้ง โรงพยาบาลหนองไผ่
  • ปภัสสร มั่นบัว โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • ปริชาติ บันดาลปิติ โรงพยาบาลแม่ระมาด
  • ปิยณัฐ ศริวิไล โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • พิมพ์ลดา เขียวจันยา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • ภัทรดี เปลี่ยนปาน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • ศิรประภา โพธิ์ศรี โรงพยาบาลหล่มสัก
  • สุเมธพงศ์ ศุภชีวะกุล โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • อัศนี วันชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ชุมชนกึ่งเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุ ในชุมชนกึ่งเมือง แห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2561 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 345 ราย เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพโดยรวม อยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า คะแนนด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส. อยู่ในระดับพอใช้ ส่วนด้านอื่น ๆ มีค่าคะแนนอยู่ในระดับต่ำ ดังนี้ด้านการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ด้านการสื่อสาร เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตาม หลัก 3อ.2ส. ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. และด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ.2ส. ตามลำดับ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าบุคลากรทางสุขภาพควรพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2560). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยหลัก 3 อ. 2ส. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/th/know/1/51

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้าน สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กวัยเรียน, กลุ่มวัยทำงาน. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์.

กิจปพน ศรีธานี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสารธารณสุข, 11(1), 26-36.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และดวงเนตร ธรรมกุล. (2558). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(2), 1-8.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี 2558. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=oPW9l7kqEFA

ฐิตินันท์ นาคผู้ และสุปาณี สนธิรัตน์. (2558). การพึ่งพาตนเองการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพความรอบรู้ทางสุขภาพ และความสุขของผู้สูงอายุ ตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/131393/98594

ทัศนา พฤติการณ์กิจ. (2558). บริบทชุมชนภายใตสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), 7-15.

นลินี ศรีวิลาศ และปริญญา หรุ่นโพธิ์. (2560). พฤติกรรมการเข้าถึงและการใช้งานอินเตอร์เน็ตของกลุ่มผู้สูงอายุ อำเภอบางพลี จังหวัดราชบุรี. สืบค้นจาก http://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/808/rmutrconth_161.pdf?sequence=1&isAllowed=y

มนตรี นรสิงห์ และสุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิต กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์, 3(1), 35-50.

แสงเดือน กิ่งแก้ว และนุศรา ประเสริฐศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 43-51.

บังอรศรี จินดาวงค์, เสาวนันท์ บำเรอราช, วริสรา ลุวีระ, และ ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2557). ความแตกฉาน ด้านสุขภาพระดับพื้นฐานของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์จังหวัดขอนแก่น. สืบค้นจาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/mmp88.pdf

เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. (2556). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. ตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี. สืบค้นจาก http://thaincd.com/document/file/download/powerpoint.pdf

ประสิทธิ์ สัจจพงษ์. (2554). ความแตกฉานด้านสุขภาพ Health Literacy. สืบค้นจาก http://kcenter.anamai.moph.go.th/info.php?info_id=1320.

วรรณศิริ นิลเนตร. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). จำนวนและอัตราผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2551 – 2560. สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th/

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2560). สถิติประชากรและบ้าน – จำนวนประชากรแยกรายอายุ. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/FilterPageAge

อภิญญา อินทรรัตน์. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 174-178.

อรรนพ เรืองกัลปวงศ์, และสราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 11(2), 77-94.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2556). การสังเคราะห์และการพัฒนาดัชนีวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย อายุ ๑๕ ปี ขึ้นไป ในการส่งเสริมด้านอาหาร ออกกำลังกาย จัดการอารมณ์ งดสุราและสูบบุหรี่. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Nutbeam, D. (2009). Defining and measuring health literacy: What can we learn from literacy studies? Journal of Public Health, 54(5), 303-305. doi: 10.1007/s00038-009-0050-x

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31