การประยุกต์ใช้ทฤษฏีของโอเร็มกับการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สมบูรณ์ บัวศักดิ์ ห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

ทฤษฎีพยาบาลของโอเร็ม, ไตวายระยะสุดท้าย, ผ่าตัดปลูกถ่ายไต, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายพบเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด เพราะช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ แต่การพยาบาลหลังผ่าตัดพบความเสี่ยงการทำงานของไตล่าช้า ความไม่สมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ ภาวะปฏิเสธไตเฉียบพลัน และการติดเชื้อ อีกทั้งผู้ป่วยจะต้องมีความรู้และต้องปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาวต่อไป

การศึกษาครั้งนี้ นำทฤษฎีระบบการพยาบาลของโอเร็ม 3 ระบบ คือ 1) ระบบทดแทนทั้งหมด 2) ระบบทดแทนบางส่วน และ 3) ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ มาประยุกต์ให้การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต จำนวน 2 ราย โดยรายที่ 1 เป็นเพศชาย รับไตจากผู้บริจาคสมองตาย หลังผ่าตัดพบการทำงานของไตล่าช้า สารน้ำและเกลือแร่ไม่สมดุล และภาวะซีด รายที่ 2 เป็นเพศหญิง รับไตจาก ผู้บริจาคมีชีวิต หลังผ่าตัดไตใหม่ทำงานได้ดี แต่ต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและปรับสมดุลสารน้ำและเกลือแร่ อย่างใกล้ชิด ทั้งสองรายได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัด และระยะจำหน่าย รวมถึง การฝึกทักษะการดูแลตนเอง ผลลัพธ์การพยาบาล กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีความปลอดภัยและสามารถดูแลตนเองได้ จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในระยะเวลา 21 วัน และ 11 วัน ตามลำดับ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มช่วยเพิ่มคุณภาพการพยาบาล ผู้ป่วยมีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

จิรารัตน์ สุพร. (2567). การพยาบาลผู้ป่วยปลูกถ่ายไตกรณีหมู่เลือดเข้ากันไม่ได้. ยโสธรวารสาร, 26(2), 33-45.

จักรพงษ์ บรูมินเหนนทร์. (2567). การติดเชื้อในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ. สำนักพิมพ์รามาธิบดี.

นิดา ประสานเกษม. (2567). การพยาบาลผู้สูงอายุโรคปอดอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 9(2), 582-579.

พารุณี วงษ์ศรี และทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. (2561). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มกับการดูแลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลตำรวจ, 10(1), 209-219.

พิชญา ประจันพาณิชย์. (2563). ผลการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตายและผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(2), 212-218.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2567). รายงานสถิติผู้ป่วยปลูกถ่ายไต ปี 2567 (เอกสารที่ไม่ได้เผยแพร่).

สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย. (2566). ศูนย์ข้อมูลปลูกถ่ายอวัยวะปี 2566. สืบค้นจากhttp://www.nephrothai.org

สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย. (2567). ศูนย์ข้อมูลปลูกถ่ายอวัยวะปี 2567. สืบค้นจาก http://www.nephrothai.org

สุนิสา เดชพิชัย และจิราภรณ์ ชูวงศ์. (2563). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบากเฉียบพลัน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(2), 207-222.

อิสริยาภรณ์ แสงสวย. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์. สืบค้นจาก https://digital.car.chula.ac.th/do/search/?q

Chang, C. F., Winsett, R. P., Gaber, A. O., & Hathaway, D. K. (2004). Cost-effectiveness of post-transplantation quality of life intervention among kidney recipients. The Journal of Clinical and Translational research, 18(4), 407-414. https://doi.org/10.1111/j.1399-0012.2004.00181.x

Orem, D. E. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-30

How to Cite

1.
บัวศักดิ์ ส. การประยุกต์ใช้ทฤษฏีของโอเร็มกับการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต: กรณีศึกษา 2 ราย. NURS HEALTH & PUB J [อินเทอร์เน็ต]. 30 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 10 เมษายน 2025];4(1):52-66. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/3500