ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 คลินิกโรคไต โรงพยาบาลท่าตะโก

ผู้แต่ง

  • วรรณลักษณ์ สุประดิษฐอาภรณ์ โรงพยาบาลท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ผลลัพธ์ทางคลินิก

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  (Quasi – experimental Research)  แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง  (two -  groups  pretest – posttest  design) เพื่อศึกษา   ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุน    และให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่  3 - 4  คลินิกโรคไต โรงพยาบาลท่าตะโก  จำนวน  60  ราย  รวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่  11  ตุลาคม 2565  ถึง 2  ธันวาคม  2565   คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตามคุณสมบัติที่กำหนด   และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ  30  ราย   โดยให้มีลักษณะใกล้เคียงกันในเรื่อง  เพศ อายุ    รายได้    ระยะเวลาของการเจ็บป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง ระดับค่าอัตราการกรองของไต และระดับค่าความดันโลหิต   กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุน   และให้ความรู้  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฏีการพยาบาลของโอเร็ม   (Orem, 2001)  โดยใช้ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้  (Educative  supportive nursing system)  ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้  คู่มือการดูแลตนเองด้านโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่  3 - 4   แบบบันทึกการติดตามต่อเนื่องทางโทรศัพท์  และแบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหารวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิง ได้แก่ Paired  t-test,  Independent  t-test

           ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลอง  กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหาร    สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง    และสูงกว่ากลุ่มควบคุม    อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p  < 0.05)  ด้านผลลัพธ์ทางคลินิกเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไต  พบว่า การทำงานของไตของกลุ่มทดลองมีแนวโน้มดีขึ้น  มากกว่าก่อนการทดลอง  และมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ   แต่เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่า   ไม่มีความแตกต่างกัน  (p = 0.10)  สำหรับค่าความดันโลหิตหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนการทดลอง    และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม   ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p  < 0.05)

               ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า    โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร   ของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่   3  - 4 และส่งผลทำให้  แนวโน้มอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้น    มีค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย    ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการในคลินิกโรคไต    และเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพ   ระบบการจัดการด้านการสนับสนุน     และให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อการชะลอไตเสื่อม โดยมีข้อเสนอแนะควรเพิ่มระยะเวลาติดตามประเมินอัตราการกรองของไตในระยะ   4,  8  และ  12  เดือน    เพื่อติดตามอัตราการเสื่อมของไตอย่างต่อเนื่อง   และควรเพิ่มตัวแปรด้านอื่น  ๆ     เช่น    ปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ และโปรตีนในปัสสาวะ  24 ชั่วโมงร่วมด้วย  เพื่อประเมินผลการควบคุมอาหารโปรตีน  และอาหารที่มีเกลือโซเดียมของผู้ป่วย

References

กันตาภัทร บุญวรรณ, ชัชวาล วงศ์สารี และกัลยภรณ์ เชยโพธิ์. (2561). โรคไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 3-4 : การพยาบาลด้วยการสอนสุขภาพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี. 12(3), 48-61.

จุฬาลักษณ์ ลิ่มลือชา. (2563). การศึกษาน าร่องประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลถลาง จังหวัตภูเก็ต. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 34(1), 80-96.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ, สุกานต์ บุนนาค และวรางคณา พิชัยวงศ์. (2557). โรคไตเรื้อรัง. ในชุษณะ มะกรสาร (บ.ก), การแพทย์ไทย 2554-2557. นนทบุรี : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

ปวีณา สุสันฐิตพงษ์. (2560). การรักษาโรคไตเรื้อรังอย่างครบวงจร : Comprehensive treatment of chronic kidney disease. กรุงเทพ : เอไอ พริ้นติ้ง.

ปาลิดา นราวุนิพร. (2558). ผลลัพธ์ของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ล้างไตทางช่องท้อง ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

เพ็ญพร ทวีบุตร, พัชราพร เกิดมงคล และขวัญใจ อ านาจสัตย์ซื่อ. (2560). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรงที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข.31(1), 129-144.

มลิวัลย์ ชัยโคตร (2561). ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้ในการดูแลตนเองพฤติกรรมการดูแลตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางไต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัชดา เย็นสวัสดิ์. (2557). ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคกระเอาหาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงพยาบาลท่าตะโก. (2564). สถิติรายงานผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ปี 2560-2564 [เอกสารอัดส าเนา]. นครสวรรค์: โรงพยาบาลท่าตะโก.

ศิริลักษณ์ น้อยปาน. (2556). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2560). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง.กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

สุขฤทัย ฉิมชาติ. (2556). ผลของโปรแกรมการชี้แนะเพื่อสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560–2564. http://www.lpho.go.th/wpcontent/uploads/2020/12/20190329105418_1_.pdf.

Orem, D. E. (2001). Nursing concept of practice. (6th ed.). St. Louis: Mosby.

Polit, D.F.,& Beck, & Hungler, B.P. (2012). Nursing research principles and methods. (6th ed.). Philadelphia: J.B. Lippincott.

Zorica Kauric-Klein. (2012). Improving blood pressure control in end-stage renal diseasethrough supportive educative nursing intervention. Nephrology Nursing Journal. 39(3), 217-228.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-02-2023