ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในด้านการเงินของหน่วยบริการสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • วิลาวรรณ นภาศิริปกรณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การตรวจสอบภายในด้านการเงิน, มาตรฐานการปฏิบัติงาน, หน่วยบริการสาธารณสุข

บทคัดย่อ

             การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive  research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ  มาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในด้านการเงินของหน่วยบริการสาธารณสุข กลุ่มประชากรคือ บุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เจ้าหน้าที่การเงินของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล   เขตจังหวัดพิษณุโลก    ปีงบประมาณ   2564    จำนวน 184  คน  ใช้สูตรคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ  Daniel   จำนวน  154  ราย  ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ    เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม    และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน    ผลการวิจัยพบว่า    การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของบุคลากรสาธารณสุข   ประกอบด้วย   การวางแผนการตรวจสอบ   ลักษณะของงานตรวจสอบภายใน การจัดสรรทรัพยากร   การปฏิบัติงาน   การรายงานผลการปฏิบัติงาน   การติดตามผล  มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง  (x̅ = 4.28 ,  S.D. = 0.380)  มาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน  ประกอบด้วย  ด้านการเงิน ด้านเงินบำรุงของหน่วยบริการ ระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง การติดตามการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ   มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง   ( x̅  =  4.50 , S.D. = 0.385) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ       มาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในด้านการเงินของบุคลากรสาธารณสุข  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r  =  0.402 ,  p-value < 0.001)  ดังนั้น  ผู้บริหารสาธารณสุขควรให้การสนับสนุนทีมตรวจสอบภายในให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและให้ครอบคลุมขั้นตอนการตรวจสอบภายในหน่วยงานย่อย

References

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2560). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ พ.ศ.2548 (เอกสารอัดส าเนา). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

ประเสริฐ ปอนปฐมรัฐ และคณะ. (2549). การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการระบบงบประมาณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ชาติ(รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มณฑ์ชยธิดา พรมเยี่ยม. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของการยางแห่งประเทศไทย.(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตรวจสอบภายใน บัณฑิตวิทยาลัย).มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สำนักงบประมาณ. (2552). การปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. (2553). แนวนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

อรรัตน์ เรืองจ ารัส. (2555). การรับรู้บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons.

Gulick, Luther and L. Urwick. (1939). Paper on the Science of Administration. New York: Columbia University.

Weichrich Heinz, Koontz Harold. (1993). Manage A Global Perspective. New York: Mcgraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023