ความชุกและการปวดกล้ามเนื้อในกลุ่มแม่บ้านชาติพันธุ์ม้ง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความชุก, ปวดกล้ามเนื้อ, แม่บ้าน, ชาติพันธุ์ม้งบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและระดับการปวดกล้ามเนื้อในกลุ่มแม่บ้านชาติพันธุ์ม้ง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 202 คน เก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือ ที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล และแบบสอบถามการปวดกล้ามเนื้อที่ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามมาตรฐานนอร์ดิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ความชุกของการปวดกล้ามเนื้อในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบหลังส่วนล่างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.45 รองลงมาคือ ไหล่/แขนส่วนบน คิดเป็นร้อยละ 50.99 และข้อเท้า/เท้าน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21.29 โดยส่วนของร่างกายที่มีระดับการปวดมากที่สุด คือ หลังส่วนล่าง คิดเป็นร้อยละ 25.74 รองลงมาคือ หลังส่วนบน คิดเป็นร้อยละ 18.32 น้อยที่สุด คือ ข้อเท้า/เท้า คิดเป็นร้อย 5.94 ข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการออกแบบกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพและความปลอดภัยทางการยศาสตร์ให้กับแม่บ้านในกลุ่มชาติพันธุ์ม้งต่อไปได้
References
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2561.
http://envocc.ddc.moph.go.th/contents?g=11.
ยุพยง หมั่นกิจ และ กติกา สระมณีอินทร์. (2561). การศึกษาอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อของพ่อค้าส่งผลไม้ตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 20(3), 180-188.
สไบทิพย์ ตั้งใจ. (2558). การจัดการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะผ้าปักของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านผานกกก ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/48623?mode=full.
สุธาลี โนมูล. (2544). กระบวนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านเกษตรบนที่สูงอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนม้งบ้านสันป่าเกี๊ยะ ตำบลแม่นะ อำเภเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2560). ข้อมูลสาเหตุการป่วยผู้ป่วยนอก 10 อันดับโรค จังหวัดเชียงใหม่. https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/all_it.php.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2557). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/154.
อนุวัฒน์ อัคคีสุวรรณ์. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ที่สัมพันธ์กับอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มคนตัดปาล์ม ตำบลสินปูน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอกการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.