การจัดการโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • พรภิรมย์ กระแสจันทร์ โรงพยาบาลลำดวน จังหวัดสุรินทร์
  • อุบล จารัตน์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเคียน ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์
  • พาพร ทองนาค

คำสำคัญ:

โรคซึมเศร้า , กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง , การจัดการ

บทคัดย่อ

          โรคซึมเศร้า  เป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อย และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ นำมาซึ่งความสูญเสียให้แก่ผู้ที่เป็นครอบครัว สังคม และประเทศขาติผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์  และการแสดงออกข องอารมณ์ พันธุกรรม ลักษณะบุคลิกภาพส่วนตัว รวมถึงโรคทางกายหลายโรคและยามีควา มสัมพันธ์กับการเกิดโรคได้ปัจจุบันพบว่าโรคซึมเศร้าและโรคเรื้อรังหลายชนิดมีความสัมพัน ธ์ต่อกันในลักษณะสองทางกล่าวคือ ทั้งสองโรคถือเป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งกันและกัน วัตถุประสง ค์ของการศึกษา:  เพื่อวิเคราะห์การจัดการโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง วิธีการศึกษา: เป็นแบบ retrospective cohort study โดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแ ต่เดือน ตุลาคม 2562 ถึง กันยายน 2563 ผู้เข้าร่วมเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยกลุ่มโรคเรื้อ รัง  อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี และยินยอมเข้าร่ วมการศึกษา โดยมีเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างออกจากการศึกษา ประกอบด้วย 1) มีความพิการหูตึง  2) ไม่สามารถสื่อสารได้ 3) ผู้ป่วยที่มีข้อมูลประวัติผู้ป่วยนอกและประวัติผู้ป่วยในจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลลำดวน หลังได้รับการรักษาไม่ครบ 1 ปีในช่ว งที่เก็บข้อมูล และ 4) ปฏิเสธเข้าร่วมการศึกษา รวบรวมข้อมูลทางสังคมและประชาการศาส ตร์ ตลอดถึงข้อมูลทางคลินิก ด้วยแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต โดยนักจิต วิทยาที่ผ่านการอบรม ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การศึกษาทั้งสิ้น 609 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.9) อายุเฉลี่ย 63.78 ± 12.246 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อ รังที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 16.3  เมื่อจำแนกเป็นรายโรค พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุด รองลงมาคือโรคเบาหวานร่วมโรคคว ามดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 23.1 และ 10.5 ตามลำดับ และยังพบว่า โรคเบาหวานร่วมโร คความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหอบหืด และโรคเบาหวานร่วมโรคไขมัน  มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p-value < 0.05  ผลลัพธ์การรักษาโรคซึ มเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนน 9Q ลดลงจาก 6.20 เป็น 4.74 ณ เดือนที่ 0 และ 12 ตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value 0.05  สรุป :  ถึงแม้ผลลัพธ์ เมื่อเปรียบเทียบก่อน  และหลังการรักษา จะไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value 0.05 แต่จากการศึกษาก็ยังแสดงให้เห็นถึงค่าเฉลี่ยของคะแนน 9Q ที่ลดลง

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2552). แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ระดับจังหวัด ฉบับปรับปรุง (ครั้งที่ 1) .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะทำงานจัดทำแนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ในสถานบริการระดับปฐม ภูมิและทุติยภูมิ กรมสุขภาพจิต. (2553). แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้า สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติ ทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ Clinical Practice Guideline of Major Depressive Disorder for General Practitioner : CPG-MDD-GP. อุบลราชธานี หจก. ธรรมออฟเซ็ทศิริ.

ธรณินทร์ กองสุข,เกษราภรณ์ เป็นบุปผา ศุภชัย จันทร์ทอง, สุพัตรา สุขาวหมศักดา ข าค รุ่งมณี ยิ่งยืน และคณะ.(2553). ความน่าเชื่อถือ และความเที่ยงตรงของแบบประเมินอาการโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถามเมื่อเทียบกับแบบประเมิน Hamilton Rating Scale for Depression (HRSD-17). นำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 2553.

ธรณินทร์ กองสุขสุพัตรา, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, ศุภชัย จันทร์ทอง, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, จินตนา จงเพิ่มพูนขาว. (2561). ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการ ซึมเศร้า คำถาม ฉบับปรับปรุงภาษากลาง 9 วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย; 63(4): 321-34.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2556). การกำหนดขนาดตัวอย่างส าหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข.วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ; 16(2): 9-18.

พงษ์เกษม ไขมุกต์ประภาศรี จร ธิติพันธ์ ธานีรัตน์, ปทานนท์ ขวัญสนิท บุญศิริ จันศิริมงคล สภูรี, ศุภวรรณ มณี

สะอาด และคณะ. (2552). การพัฒนาและความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า ด้วย คำถามในชุมชนภาคใต้ 9 ค าถาม ประเมินโรคซึมเศร้าชนิด 2 เอกสารประกอบการ ประชุมน าเสนอผลงานการวิจัย กรมสุขภาพจิต.

มณีรัตน์ เอี่ยมอนันต์. (2562). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาล; 68(1): 58-65.

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, ธรณินทร์ กองสุข เบญจลักษณ์ มณีทอน ณรงค์ มณีทอน, กมลเนตร วรรณเสวก เกษรา

ภรณ์ เป็นบุปผา และคณะ. (2549). การพัฒนาและความเที่ยงตรงของ แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด คำถามในชุมชนไทยอีสาน 2 วารสารสมาคมจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย. 50: 2-13.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. (2557).ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 59(3): 287-98.

aan het Rot M, Mathew SJ, Charney DS. (2009) . Neurobiological mechanisms in major depressive disorder. CMAJ. Feb 3;180(3):305-13. doi: 10.1503/cmaj.080697. PMID: 19188629; PMCID: PMC2630359.

Arunpongpaisal S. ( 2015 ) . Epidemiology of depressive disorders .In Arunpongpaisal S,Vasiknanonte S.Textbook of depressive disorders .1st ed. Khon Kaen: 29-48.

Gutiérrez-Rojas Luis, Porras-Segovia Alejandro, Dunne Henry, Andrade-González Nelson, Cervilla

Jorge A. (2020). Prevalence and correlates of major depressive disorder: a systematic review. http://www.scielo.br/scielo .php?script=sci arttext&pid=S1516-44462020005024201&lng=en.

Krueger C, Hawkins K, Wong S, Enns MW, Minuk G, Rempel JD. (2011) . Persistent proinflammatory cytokines following the initiation of pegylated IFN therapy in hepatitis C infection is associated with treatment-induced depression. J Viral Hepat; 18:284-91.

Kulkarni V, Chinnakali P, Kanchan T, Rao A, Shenoy M, Papanna MK. (2014) . Psychiatric Comorbidities among Patients with Select Non-communicable Diseases in a Coastal City of South India. Int J Prev Med. 5(9): 1139-45.

Masi G, Brovedani P. (2011). The hippocampus, neurotrophic factors and depression: possible implications for the pharmacotherapy of depression. 25(11): 913-31.

Murray JL, Lopez AD. (1997). The global burden of disease. Cambridge: The Harvard School of Public Health on behalf of the World Health Organization and the World Bank.

Newton-Howes G, Tyrer P, Johnson T. (2006) . Personality disorder and the outcome of depression: meta-analysis of published studies. J Psychiatry. 188:13-20.

Park M, Reynolds C. F. ( 2 0 1 5 ) . Depression among older adults with diabetes mellitus. Clin Geriatr Med. 31(1): 117.

Ramasubbu R, Beaulieu S, Taylor VH, Schaffer A. (2012) . McIntyre RS; Canadian Network forMood and Anxiety Treatments (CANMAT) Task Force. The CANMAT task force recommendations for the management of patients with mood disorders and comorbid medical conditions: diagnostic, assessment, and treatment principles. Ann Clin Psychiatry. 24(1): 82-90.

Sahay A, Hen R. (2007) . Adult hippocampal neurogenesis in depression. Nat Neurosci. Sep;10(9): 1110.

Sen S, Nesse RM, Stoltenberg SF, Li S, Gleiberman L, Chakravarti A, Weder AB, Burmeister M. (2003). A BDNF coding variant is associated with the NEO personality inventory domain neuroticism, a risk factor for depression. Neuropsychopharmacology. 28(2):397-401.

Shyn SI, Hamilton SP. (2010) . The genetics of major depression: moving beyond the monoamine hypothesis. Psychiatr Clin North Am. 33(1): 125-40.

T. Kongsuk, P. Kittirattanapaiboon, K. Kenbubpha, S. Sukawaha, J. Leejongpermpoon. (2010). The Prevalence of Major Depressive Disorders in Thailand: Results from the Epidemiology of Mental Disorders National Survey 2008. Presented in WPA Section on Epidemiology and Public Health- Meeting Prediction in Psychiatric Epidemiology.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023