การศึกษาพฤติกรรมการทำงานของพนักงานที่มีความเมื่อยล้าต่อสายตา ของผู้ปฏิบัติงาน แผนกลูกหีบเอ ในโรงงานน้ำตาลนครเพรช จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • วิวัฒน์ โมราราช วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ธีรพัฒน์ อินทร์ธรรม วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • น้ำค้าง รักซ้อน

คำสำคัญ:

ความเข้มของแสงสว่าง, พนักงานแผนกลูกหีบเอ, ความเมื่อยล้าต่อสายตา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดและประเมินความเข้มของแสงสว่าง ในพื้นที่การปฏิบัติงานแผนกลูกหีบเอ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพนักงานแผนกลูกหีบเอต่อแสงสว่างในสภาพแวดล้อมการทำงาน   และเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพการทำงานของพนักงานแผนกลูกหีบเอ   เรื่องการศึกษาพฤติ กรรมการทำงานของพนักงานที่มีความเมื่อยล้าต่อสายตาของผู้ปฏิบัติงานแผนกลูกหีบเอในโรงงานน้ำตาลนครเพรช จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ พนักงานแผนกลูกหีบเอ จำนวน 24 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ตอนที่ 1 โรคประจำตัว ลักษ- ณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ มี/ไม่มี มีจำนวน 2 ข้อ ตอนที่ 2 อาการหรือควา มเมื่อยล้าจากการทำงาน ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check-List) มีจำนวน 9 ข้อ   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  ผลการวิจัยปรากฏว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัว ผู้ตอบแบบสอบ ถามมากที่สุด  โรคประจำตัวของผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด ได้แก่ มีโรคประจำตัวจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 0.5 ที่เหลือ ได้แก่ ไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 0. 5 อาการหรือความเมื่อยล้าจากการทำงานของผู้ตอบแบบสอบถามมากข้อมูล  ที่เกี่ยวกับอา การหรือความเมื่อยล้าจากการทำงานของผู้ปฏิบัติงานของโรงงานน้ำตาลเพชร จังหวัดกำแ- พงเพชร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 5.00, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= .000) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ความสว่าง ณ ตำ แหน่งปฏิบัติงานของท่านเพียงพอ/เหมาะสมและท่านได้รับการตรวจสมรรถภาพด้านสายตาประจำปี (อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง) อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 5.00,  ส่วนเบี่ยงเบนมาตร ฐาน= .000), รองลงมาท่านมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องแสงสว่าง (แสงสว่างที่เหมาะสมกับงาน,โร คจากการทำงานเกี่ยวกับแสงสว่าง,วิธีพักสายตาฯลฯอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.96, ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน= .042),  ปริมาณแสงสว่างในห้องเพียงพอ/เหมาะสมซึ่งอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.88, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= . 069), ท่านมองเห็นวัตถุ/ชิ้นงานที่ปฏิบัติงานชั ดเจนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.38, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= .275)

References

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างาน (องค์การมหาชน) กระทรวงแรงงาน. ( 2 5 6 3 ) . กฎหมายเกี่ยวกับแสงสว่าง.[https://tosh.or.th/images/file/2018/powerpoint_138/01.pdf.

โรงพยาบาลจะนะ. (2563). ความเมื่อยล้าจากแสงสว่าง. https://www.chanahospital.go.th/content.

ชินเพาเวอร์. (2563). มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง 2563. https://chinpower.net/knowledge/luxrequirement-law2561.

ชัญญากานต์ โกกะพันธ, นิพาวรรณ์ แสงพรม, กิตติยา ฝ้ายเจริญ, คนธนันท์ อุตชุมพิสัย, ณฤดี พูลเกษม, นิชาภา เหมือนภาค, และ ยศภัทร ยศสูงเนิน. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเข้มแสงสว่างในโรงผลิตเครื่องปั้นดินเผา กรณีศึกษาโรงผลิตเครื่องปั้นดินเผา เขตเทศบาลตำบล ด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol9No1_124.pdf.

ปัทมพร กิตติก้อง, พรพรรณ สกุลค, กิตศราวุฒิ ขวัญชารี, และ กันณพงศ์ อัครไชยพงศ์. (2563). การศึกษาระดับความเข้มแสงสว่างในห้องเรียน และลักษณะทางกายภาพของห้องที่มีผลต่อความรู้สึกเมื่อยล้าทางสายตาของนักเรียนกรณีศึกษา: โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น.

http://odpc7.ddc.moph.go.th/journal/files.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023