ผลการใช้โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาบาสเกตบอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ภัทรภร บุญทวีมิตร
  • ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ภัควัฒน์ เชิดพุทธ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสาน, บาสเกตบอล, ความคล่องแคล่วว่องไว

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของความคล่องแคล่วว่องไวก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาบาสเก ตบอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปร แกรมการฝึกแบบผสมผสานที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องในกีฬาบาสเกตบอล ของนักเรียนชั้ นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3  ภาคเรียนที่  2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะ จง (Purposive Sampling) โดยการใช้โปรแกรมการการฝึกแบบผสมผสาน  และทำการฝึ กโปรแกรมสัปดาห์ละ 3 วันเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์  จากนั้นทำการเก็บข้อมูลตัวแปรของค- วามคล่องแคล่วว่องไว    และทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวก่อนและหลังการใช้โปรแกรม หลังสิ้นสุดการทดลองผู้วิจัยนำผลมาวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีทางสถิติ โดยทำการหาค่าเฉลี่ ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และค่าความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสาน ผลก- ารวิจัย พบว่า ภายหลังการใช้โปรแกรม 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง มีการพัฒนาผลการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และมีผลความพึงพอ ใจอยู่ในระดับมาก  สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสาน มีผลต่อการพัฒนาความคล่อ งแคล่วว่องไวและยังมีผลของความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานซึ่งอ ยู่ในระดับมาก

References

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2548). วิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับเทนนิส. กรุงเทพฯ: กองสมรรถภาพการกีฬาฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2559). แบบฝึกความเร็ว ความคล่องแคล่ว ความรวดเร็ว ความแข็งแรง: กองสมรรถภาพการกีฬา ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ: กองสมรรถภาพการกีฬาฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย.

ไกรวิชญ์ จิรเดชากุล. (2553). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อกำลังกล้ามเนื้อ ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬากาบัดดี้เพศชาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จีรวัฒน์ สัทธรรม. (2555). ความแม่นยำในการยิงประตูบาสเกตบอลของนักกีฬาบาสเกตบอลชายในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 40. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ฉัฐรส บัญชาชาญชัย. (2540). การสร้างแบบประเมินและแบบทดสอบทักษะกีฬาบาสเกตบอล ส าหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

ไตรมิตร โพธิแสน. (2555). ผลของโปรแกรมการฝึกเสริมด้วยห่วงพลาสติกที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและพลังกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาเซปักตะกร้อ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกาลังกายและกีฬา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทวิช ไกลถิ่น. (2552). ผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวของนักฟุตบอล. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาพลศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2551). เครื่องมือการใช้วิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อพัฒนาศักยภาพนักกีฬาไทยระดับนักเรียน.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ส านักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2552). การสร้างเสริมสุขภาพด้วยการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา.

สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). การสร้างเสริมสุขภาพด้วยการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). คู่มือการทดสอบสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness Testing) ส าหรับการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-02-2023