คุณลักษณะทางจิตใจของนักกีฬาฟุตบอลในช่วงฤดูกาลแข่งขัน : ทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา
คำสำคัญ:
ฟุตบอล, ทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา, ในช่วงฤดูกาลการแข่งขันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา คุณลักษณะทางจิตใจของนักกีฬาฟุตบอลในช่วงฤดูกาลแข่งขัน : ทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา กลุ่มประชากรเป็นนักกีฬาฟุตบอล วิทยาลัยนอร์ทเทิร์นและสโมสรนอร์ทเทิร์นตากยูไนเต็ด โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) อายุระหว่าง 18-31 ปี จำนวน 30 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา และพัฒนาเป็นภาษาไทยโดยสุพัชริน ในปี ค.ศ. 2016 (The athletics coping skills inventory, ACSI-28) และนำข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักกีฬาฟุตบอล มีประสบการณ์ด้านการแข่งขันในระดับอาชีพและระดับนานาชาติค่อ นข้างน้อย มีชั่วโมงการฝึกซ้อมรายวันและสัปดาห์ที่เหมาะสมในช่วงฤดูกาลแข่งขัน มีทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา ด้านการยอมรับคำแนะนำอยู่ในระดับดี และด้านการจัด การปัญหา ด้านสมาธิ ด้านความเชื่อมั่นและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านการตั้งเป้าหมายและเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ ด้านการแสดงความสามารถสูงสุดภายใต้ความกดดัน และด้านอิสระจากความกังวลอยู่ในระดับพอใช้
References
ฉัตรกมล สิงห์น้อย. (2554). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการหมดไฟในนักกีฬาเยาวชนภาคตะวันออก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 11(2), 288-305.
ประโยค สุทธิสง่า. (2536). ทักษะกีฬายอดนิยม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุพัชรินทร์ ปานอุทัย. 2557. รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา ฉบับภาษาไทย. สหมิตรการพิมพ์. กทม.
อาทิตย์ เข็มทอง (2554). ลักษณะทางกายภาพสรีรวิทยาและความสามารถเชิงทักษะของนักกีฬาบาสเกตบอลชายมหาวิทยาลัยบูรพาในช่วงฤดูการแข่งขัน. (วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การออกกาลังกายและการกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
FIFA. (2016). Fifa. www.fifa.com Philadelphia: Lea & Febiger.
Caruso, C. M., Gill, D.L., Dzewaltowski D.A. & McElroy, M.A. (1990).Psychological and physiological change in competitive success and failure. Journal of Sport and Exercise Psychology, 12, 6-20.
Dachen J. (2012). Test of performance strategies among college going athletes: Difference across type of sports and gender. International Journal of Behavioral: Social Movement Sciences, 1(4), 139-147.
McArdle, W. D., Katch, F. I., & Katch, V. L. (2000). Essential of Exercise Physiology. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Omar-Fauzee M.S. See L.H., Geok K., & Abd.Latif R. (2008). The relationship between the task and ego orientations and coping strategies among universities athletes. Journal of Research, 3 (2), 107–111.
Sharma R. & Kumar A. (2011). Psychological characteristics of male university athletes. Journal of Physical Education and Sport, 11(1), 5-17.
Smith, R. E., Schutz, R. W., Smoll, F. L., & Ptacek, J. T. (1995). Development and validation of a multidimensional measure of sport-specific psychological skills: The Athletic Coping Skills Inventory-28. Journal of Sport and Exercise Psychology, 17, 379-398.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.