การจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เมธี สุทธศิลป์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • เยาวภา เสียงดัง
  • ประภาพร คำแสนราช วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

การจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีอายุ 18–60 ปี จำนวน 362 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ   เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม 2563 ถึง 5 มกราคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควส์ (Chi-Square) และ mu ltiple logistic regression

          ผลการศึกษา  พบว่าประชาชนร้อยละ 59.9  มีการจัดการกับขยะมูลฝอยที่ไม่เหมาะส มและร้อยละ 40.1 มีการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม ร้อยละ 40.1 มีทัศนคติในการจัดการขยะมูลฝอยที่ดี ร้อยละ 85.6   มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยที่ดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยก ว่า 0.05 ได้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่คัดแยกขยะในครัวเรือน และปริมาณขยะในครัวเรือนในแต่ละวัน โดยผู้ที่ทำหน้าที่คัดแยกขยะ ในครัวเรือนที่เป็นแม่บ้านมีโอกาสที่จะจัดการขยะมูลฝอยที่เห มาะสมเป็น 1.6 เท่าของผู้ที่ทำหน้าที่คัดแยกขยะในครัวเรือนที่ไม่ใช่แม่บ้าน ปริมาณขยะในครัวเรือนที่ทิ้งในแต่ละวัน 1–2 กิโลกรัม มีโอกาสที่จะจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมเป็น 3.0 เท่าของปริมาณขยะในครัวเรือนที่ทิ้งในแต่ละวัน 3 กิโลกรัม ขึ้นไป

          ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ วางแผนในการจัดการขยะมูลฝอยการส่งเสริมทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย และรณรงค์ให้ครัวเรือนลดการใช้ขยะให้น้อยลง

References

กาบแก้ว ปัญญาไทย. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). คู่มือประชาชน เพื่อการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ธนกฤต บวกขุนทด. (2563). การศึกษารูปแบบการจัดการการจัดเก็บขยะชุมชน กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมืองพัฒนา อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์สาขาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

นุชนรินทร์ ช้างป่าดี. (2560). การเรียกร้องประชาพิจารณ์นโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษาโครงการ ก่อสร้างโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยครบวงจรตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์สาขารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บัญชา สุวรรณสิทธิ์. (2560). การจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดของเทศบาลตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรเมษฐ ห่วงมิตร. (2560). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์สาขารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา.

วลัยพร สกุลทอง (2561). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์สาขารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วุฒิพงษ์ ศรีศิลป์. (2563). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการขยะมูลฝอย ณ จุดเริ่มต้นโดยชุมชนของ องค์การบริหารส่วนตำบลถืมตอง จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนุชิต ไชยถา (2562). ประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์สาขาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Bohnel H, Lube K. (2000). Clostridium botulinum and bio-compost. A contribution to the analysis of potential health hazards caused by bio-waste recycling. J Vet Med B Infect Dis Vet Public health.

Catapreta CA, Heller L. (1999). Association between household solid waste disposal and health, Belo Horizonte, Brazil. Rev Panam Salud Publica.

Dubrion M. & Ireland, G. D. (1993). Management and Organization. Ohio: South Western Publishing Company.

Goldberg MS, Siemiatyck J, DeWar R, Desy M, Riberdy H. (1999). Risks of developing cancer relative to living near a municipal solid waste landfill site in Montreal, Quebec, Canada. Arch Environ Health.

Hoornweg D, Thomas L, Otten L. (1999). Composting and Its Applicability inDeveloping Countries. Urban Waste Management Working Paper Series 8. Washington, DC : World Bank.

Lavoie J, Guertin S. (2001). Evaluation of health and safety risks in municipal solid waste recycling plants. J Air Manag Assoc.

Schwartz GG, Skinner HG, Duncan R. (1998). Solid waste and pancreatic cancer: an ecologic study in Florida, USA. Int J Epidemiol.

William A, Jalaludin B. (1988). Cancer incidence and mortality around a hazardous waste depot. Aust N Z J Public Health.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-02-2023