ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือนของประชาชนในตำบลบ้านป้อม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • พัชราพร ภู่เอี่ยม
  • สรัญญา ถี่ป้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือน, ของเสียอันตรายในครัวเรือน, ความรู้เกี่ยวกับของเสียอันตราย และการจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับของเสียอันตรายและการจัด การของเสียอันตรายในครัวเรือน การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือนที่ไม่ถูกต้อง  การรับรู้ความรุนแรงของการจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือนที่ไม่ถูกต้ อง การรับรู้ประโยชน์ของการจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือน การรับรู้อุปสรรคของการจั ดการของเสียอันตรายในครัวเรือน  แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการจัดการของเสี ยอันตรายในครัวเรือนของประชาชนในตำบลบ้านป้อม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย และเพื่ อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการของเสียอันตราย  ในครัวเรือนของประชาชนในตำบลบ้านป้อม  อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 373 ครัวเรือน เก็ บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือ นของประชาชน  ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม (Beta = 0.610) การรับรู้อุปสรรคของการจั ดการของเสียอันตรายในครัวเรือน (Beta = 0.200) การรับรู้ประโยชน์ของการจัดการของเสี ยอันตรายในครัวเรือน  (Beta = 0.136) และงานบ้าน (Beta = 0.085) โดยร่วมกันทำนายพ ฤติกรรมได้ร้อยละ 50.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษานี้นำไปใช้เป็ นแนวทางแก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือนให้ดียิ่งขึ้น

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2560). การสัมมนาเรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. กรุงเทพ ฯ : สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ.

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). สรุปรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2561. https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/05/pcdnew-2020-05-15_06-33-35_034969.pdf.

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม. (2561). รายงานขยะมูลฝอยและขยะอันตราย ประจำปีงบประมาณ 2561, สุโขทัย.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2560). แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิพย์วรรณ สุพิเพชร. (2556). พฤติกรรมของแม่บ้านในการลดปริมาณขยะมูลฝอยในอาคารที่พักอาศัยของกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ, 24 (1), 84-94.

นภัส น้ำใจตรง. (2561). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์สาขาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพ ฯ.

มโนลี ศรีเปารยะ, ศราวุธ ทองเนื้อห้า และ สินีนาท โชคด าเกิง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนต าบลคลองประสงค์ อ าเภอเมือง จังหวัดกระบี่. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. https://file:///C:/Users/Som% 20O/Downloads/5162-

Article%20Text-32524-5-10-20180325%20(2).pdf.

มาฆรัตน์ กลิ่นหอม. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคักแยกขยะของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกสุขศึกษา ภาควิชาสุขศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วริษฐา แสงยางใหญ่, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ และบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 12(1); 76-87.

ศิราณี ศรีใส (2557). มูลฝอยอันตรายจากชุมชน: ลดได้ ถ้าร่วมใจคัดแยก Hazardous Waste from Community: Reduce by Separation. วารสารสาธารณสุข, 44 (2); 107-108.

สิรินดา ดวงศรี, วิภาสินี ลีวัฒนาการ, ศุภาพิชญ์ รัชนิพนธ์, สุกัญญา กลางณรงค์, สุดา ปานภักดี, อาริยา คงทอง, วิริยา โพธิ์ขวาง-ยุสถ์. (2561). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการแยกขยะ สมรรถนะแห่งตนในการแยกขยะ และพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ การเรียนรู้เชิงรุก ครั้งที่ 6 “Active Learning ตอบโจทย์ Thailand 4.0 อย่างไร”. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช.

สุทธิ์ บุญโท. (2559). ประสิทธิผลการจัดการปริมาณขยะชุมชนจากการใช้หลัก 5 Rs. กรณีศึกษา ตำบลทุ่งทราย จังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (ครั้งที่ 3) ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลัง นานาวิทยา.

อาณัติ ต๊ะปินตา. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย. (ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

House, J. S. (1981). The association of Social relationship and activities with mortality: Community health study. American Journal Epidemiology. 116 (1), 123 – 40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-02-2023