ความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน วิทยาลัยนครราชสีมา
  • กชกร มาเกตุ
  • หทัยชนก บุญพิมพ์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • จิราวัฒน์ ลิมป์พัชราภรณ์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          ภาวะสมองเสื่อมมีผลกระทบต่อความจำ  ความคิด  พฤติกรรม  และความสามารถประ กอบกิจวัตรประจำวัน  นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมค่อนข้า งสูง และยังมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ดูแล  เพราะนอกจากนี้ต้องดูแลปัญหาด้านร่างกาย และทุพพลภาพแล้วยังต้องเผชิญกับปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย   งานวิจัยครั้งนี้จึงสนใจที่จะหาความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการรักษาต่อไปในอนาคต การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อสำรวจความชุกภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ  ที่พักอาศัยอยู่ในศูนย์พัฒนาการสวัสดิการสังค มผู้สูงอายุบ้านบางแค  ระเบียบวิธีวิจัย สำรวจภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่  60 ปีขึ้นไป ที่ไม่มีปัญหาด้านการสื่อสาร ปัญหาด้านการมองเห็น  และปัญหาด้านการอ่านเขียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบทดสอบสมรรถนะทางสมองของไทย (Thai Menta l State Examination, TMSE-Thai 2002)  การวิเคราะห์โดยใช้สถิติขั้นพื้นฐานได้แก่ ร้อ ยละ ผลการวิจัย จำนวนผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้ามีทั้งหมด 86 คน พบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 45.35 ผู้สูงอายุไม่มีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ  34.88  และผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 19.77 หากแบ่งภาวะสมองเสื่อมออกเป็นเพ ศชายกับเพศหญิง พบว่าเพศหญิงมีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 71.89 และเพศชายมีภาวะสมอ งเสื่อมร้อยละ  28.20 หากแบ่งเป็นช่วงอายุ พบว่าช่วงอายุ ≥ 80 ปีขึ้นไปมีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ  82.1 ช่วงอายุ 70-79 ปี มีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 12.8 และช่วงอายุ 60-69 ปี มีภา วะสมองเสื่อมร้อยละ 5.1 สรุปผลการศึกษา ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในศูนย์พัฒนาการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานครพบว่ามีความชุกของภาวะสมองเสื่อมร้อยละ  4 5.35

References

เดือนเพ็ญ ศิลปอนันต์. (2557). การศึกษาอัตราความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุโรงพยาบาลบางกรวย จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2557. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต. 4. 1-5.

ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์, บรรณาธิการ. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

ธรรมนาถ เจริญบุญ. (2557). ผลการรักษาโรคสมองเสื่อม การศึกษาแบบไปข้างหน้าในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 59(3): 313-322.

ประเสริฐอัสสันตชัย. (2559). การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท. http://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_2_008.html.

พาวุฒิ เมฆวิชัย , สุรินทร์ แซ่ตั้ง. (2558). ผลกระทบจากการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. (1): 101-110.

เรณุการ์ ทองค ารอด. (2559). จิตสังคมผู้สูงอายุ. http://www.stou. ac.th/stoukc/elder/main1_7.html.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2559). สมองเสื่่อม. http://www.thaisha.or.th/sites/default/files/attach/2014/document/.pdf.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2559). ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อม. http://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/network_title1_4.html.

ศินาท แขนอก. (2559). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Dementia).http://www.dmh.go.th/downloadportal/morbidity/dementia.pdf.

สันต์ ใจยอดศิลป์. (2553). โรคสมองเสื่อม (Dementia).http://visitdrsant.blogspot.com/2010/07/dementia.html.

สาธิดา แรกคำนวณ , พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย . (2555). ปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ปาวยภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์และภาระการดูแลของผู้ดูแลที่แผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 57(3): 335-346.

สิรินทร ฉันศิริกาญจน. (2559). แนวโน้มปํญหาผู้สูงอายุในทศวรรษหน้า . http://www.owf.go.th/wofa/modules/website/upload/news/276df6acf2a7613bbb3342ff7fe19007.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-02-2023