การศึกษาร่มติดฉนวนกันความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และสัญญาณชีพของร่างกาย ในกลุ่มคนสวนในมหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
สัญญาณชีพ, ร่ม, ฉนวน, อุณหภูมิ, คนสวนบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร่มติดฉนวนกันความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแกนสัญญาณชีพ ในขณะทำงานโดยไม่ใช้ร่ม (1) การปฏิบัติงานภายใต้ร่มที่มีฉนวนกันความร้อนอยู่ภายในร่ม (2) ร่มที่มีฉนวนกันความร้อนอยู่ภายนอก (3) และความพึงพอใจในการใช้ร่มที่มีฉนวนกันความร้อนอยู่ภายในและร่มที่มีฉนวนกันความร้อนอยู่ภายนอก ในพนักงานทำสวน ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีอาชีพรับจ้างทำสวน จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลในกลุ่มโดยใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป การสัมผัสความร้อนในขณะปฏิบัติงาน นอกจากนี้ได้ทำการตรวจวัดพารามิเตอร์ต่าง ๆ ในกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ระดับความดันโลหิต อุณหภูมิภายในร่างกาย (personal heat stress) ความอิ่มตัวของออกซิเจนบริเวณปลายนิ้วมือ และความพึงพอใจในการใช้ร่มชนิดต่าง ๆ และการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทำสวน ได้แก่ อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ ( Wet Bulb Globe Temperature : WBGT ) ความเร็วลม ( Wind velocity ) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของกลุ่มตัวอย่าง เมื่อทำงานกลางแจ้งโดยไม่ใช้ร่ม ใช้ร่มที่มีการติดฉนวนภายในและภายนอก โดยสถิติเชิงวิเคราะห์ คือ One-Way ANOVA และการเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจในการใช้ร่มที่ติดฉนวนกันความร้อนอยู่ภายในและร่มที่มีฉนวนกันความร้อนอยู่ภายนอก โดยใช้สถิติ (paired t-test)
ผลการศึกษา พบว่า ระดับค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ และ สัญญาณชีพ (อุณหภูมิแกนกลางร่างกายอัตราการเต้นของหัวใจ) ของกลุ่มตัวอย่างเมื่อใช้ร่มที่มีฉนวนหุ้มอยู่นอก มีค่าต่ำกว่าในขณะที่ใช้ร่มที่มีฉนวนอยู่ภายในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความพึงพอใจ ในการร่มที่มีฉนวนกันความร้อนอยู่ภายใน มากกว่าร่มที่มีฉนวนกันความร้อนอยู่ภายนอก เท่ากับ 3.07 ± 0.63 และ 2.99 ± 0.56 ตามลำดับ (p = 0.003)
ดังนั้นหน่วยงานหรือคนงานทำงานควีมีการใช้ร่มที่ติดฉนวนกันความร้อนที่อยู่ภายนอก จะช่วยลดการรับสัมผัสความร้อนได้มากกว่า การใช้ร่มที่มีฉนวนความร้อนอยู่ภายใน ซึ่งลดความเสี่ยงในการเกิดโรคลมแดด (Heat Stoke) ในขณะที่ทำงานรับสัมผัสความร้อนทำงานกลางแจ้งในกลุ่มคนสวนได้
References
กษิดา ชำนาญดี. (2554). การเปรียบเทียบระหว่างการติดตั้งฉนวนกันความร้อนภายในและภายนอกของผนังต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานปรับอากาศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2559). โรคจากความร้อน. http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/74.
ขณิฐา ยะจอม. (2554). การวิเคราะห์ความล้าทางจิตใจของพนักงานตรวจสอบชิ้นงานในบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปณิธาน บุตรแก้ว และ ชูพงษ์ ทองค าสมุทร. (2560). พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคาที่มีการติดตั้งแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์สัมพันธ์กับการระบายอากาศใต้หลังคา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ” ครั้งที่ 3 ภูมิปัญญาสู่อนาคต: Wisdom for the Future วันที่ 15-16 มิถุนายน 2560. ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). ภาวะการทำงานของประชากร. http://www.nso. go.th/sites/2014.
อุมา ลางคุลเสน. (2561). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความร้อนที่มีต่อเกษตรกรและพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Rossati, A. (2017). Global Warming and Its Health Impact. Int J Occup Environ Med. 8(1), 7-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.