ปัจจัยนํา ปัจจัยเอื้อ ปัจจยัเสริมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ เขตอําเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
คำสำคัญ:
ปัจจัยนํา, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยนํา ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ประชากรคือ ผู้สูงอายุ ระหว่าง 60 - 70 ปี เขตอําเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี จํานวน 811 คน โดยใช้สูตรการคํานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 274 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมสุขภาพ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจาก ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนําไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุของผู้สูงอายุเขตอําเภอลานสัก จังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การรับรู้ด้านสุขภาพ (r=0.248 , P-value<0.001) การเข้าถึงบริการสถานที่สาธารณะของชุมชน (r=0.250 , P-value<0.001) การมีส่วนในชมรมผู้สูงอายุและชุมชน (r = 0.206 , P-value <0.001) การได้รับแรงสนับสนุนจากบุคลากรด้านสุขภาพ (r=0.257 , P-value<0.001) ตามลําดับ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). Health Data Center. https://hdcservicemoph.go.th/hdc/reports/page.php.
จุฬาภรณ์โสตะ. (2554). แนวคิดทฤษฐีและกำรประยุกต์ใช้เพื่อกำรพัฒนำพฤติกรรมสุขภำพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชมพูนุช พรหมภักดี. (2556). กำรเข้ำสู่สังคมผู้สูงอำยุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). วารสารสำนักวิชาการสำนักเลขาธิการวุฒิสภา. 3(16), 1-17.
เนาวรัตน์ ช่างไม้. (2556). ปัจจัยที่มีควำมสัมพันธ์กับพฤติกรรมกำรส่งเสริมสุขภำพผู้สูงอายุตำบลบำงรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 8(6), 8-10.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2562). สารประชากร มหาวิทยำลัยมหิดล. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ และ นูรมา สมการณ์. (2565). กำรรับรู้ด้ำนสุขภำพที่มีควำมสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 5(1), 146-155.
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rded). Englewood Cliffs: N.J. Prentice-Hall.
Bloom, Benjamin S., et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.
Cronbach, Lee J. (1951). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed). New York: Harper.
Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons.
Green, L. W. and Kreuter, M.W. (1991). Health promotion planning: and environmental approach. Toronto: Mayfied Publishing.
Rosenstock, I.M. (1974). Historical origins of the Health Belief Model. Health Education & Behavior. 2(4), 1-9.
World Health Organization (WHO). (1994). Quality of Life Assessment: An Annotated Bibliography.
https://apps.who.int/iris/handle/10665/61629.
World Health Organization(WHO). (2002). Active ageing: A policy framework (WHO/NMH/NPH/02.8).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.