พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูง ในโรงพยาบาลศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • บุญชนะ ปรสันติสุข โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง กับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  ในโรงพยาบาลศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ  จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา      เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง      ที่ขึ้นทะเบียนของโรงพยาบาลศรีมหาโพธิจำนวน   297  คน  ด้วยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย  ( Simple   Random Sampling  )   เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าสถิติที ( t-test  Independent )  ค่าสถิติเอฟ  แบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( F-test  ( One-way ANOVA ) ) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 85.49 และอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 14.81 ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลศรีมหาโพธิ     อำเภอศรีมหาโพธิ    จังหวัดปราจีนบุรี  พบว่า  เพศ  และอายุส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กลุ่มพัฒนานโยบายสาธารณะและสื่อสารความเสี่ยง. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2562. กรุงเทพฯ: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.

กองโรคไม่ติดต่อ. (2563) . จำนวนอัตราป่วย - ตายปี 2559 - 2562.http://thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.php?id=13893&tid=32&gid=1-020.

ชูชาติ กลิ่นสาคร. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2(2), 62-77.

ณฐกร นิลเนตร, ชนัญญา จิระพรกุล และเนาวรัตน์ มณีนิล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสุขศึกษา. 41(1), 62.75.

นพดล ค าภิโล. (2559). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประเพ็ญพร ชำนาญพงษ์และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2559). การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนกึ่งเมือง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน. 4(3), 325-340.

ยุทธนา ชนะพันธ์และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 21(2), 109-119.

รัฐกานต์ ข าเขียว และชนิดา มัททวางกูร. (2561). การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ในพื้นที่รับผิดของของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี. วารสารควบคุมโรค. 44(2), 130-144.

วิกิพีเดีย. (2564). อำเภอศรีมหาโพธิ. In Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/อ าเภอศรีมหาโพธิ.

ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช. (2561). สถานการณ์ปัจจุบันของโรคหลอดเลือดสมอง .https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1256_1.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี. (2562). รายงานการตรวจราชการและนิเทศงาน ปราจีนบุรี ประจำปี 2562. https://www.pri.moph.go.th/images/yuth/inspector162/ intropho-round162.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี. (2564). การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=3092c3c3250ae67155f7e134680c4152.

World Stroke Organization. (2016). World stroke day 2016: Why act NOW. http://www.worldstrokecampaign.org/about-the-world-stroke-campaign/wh-act now.thml/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023