ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ธนาคม เสนา โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

โรคปริทันต์อักเสบ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, สูญเสียอวัยวะปริทันต์

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (Cross-sectional Analytic Research Study)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่  2 ประชากร คือ  ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่  2  ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวานของโรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 1,426 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรการศึกษาแบบภาคตัดขวางของ  Schlesselman  ได้กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 181 ราย  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ   1)  แบบสอบถาม  ประกอบด้วย  4  ส่วน   ได้แก่   คุณลักษณะส่วนบุคคล  สถานะสุขภาพ  พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก  พฤติกรรมสุขภาพ และ 2) แบบประเมินสภาวะสุขภาพช่องปาก  การทดสอบคุณภาพแบบสอบถาม  โดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ  3  ท่าน   และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค   ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ   0.826     วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ  Chi - square    และ  Multiple Logistic  regression  แสดงค่า  ORadj ,  95% CI , P-value  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05

         ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า  ผู้ป่วยโรคเบาหวานสูญเสียอวัยวะปริทันต์ตั้งแต่  9  มม.  เท่ากับ  17.13%  โดยมี CAL เฉลี่ยเท่ากับ 5.32 มม.  (S.D.=2.184,  Max=12,  Min=0)  การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุ  พบว่า  ปัจจัยทำนายการเกิดโรคปริทันต์อักเสบของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป  ( ORadj =102.646 ,  P-value=0.013 ,  95%CI=1.251 - 41.999 )  ไม่มีบิดา / มารดาทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพ  ( ORadj  = 126.716 ,  P-value = 0.019 ,  95%CI  = 2.244 - 71.539 )   ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม   ( HbA1C  >  7 mg% )  ( ORadj =4.524 ,  P-value=0.047 ,  95%CI = 1.865 - 23.671 ) จำนวนฟันแท้ถอนมากกว่า 3 ซี่ ( ORadj  = 3.692 ,  P-value = 0.018 ,  95%CI  =  1.253 - 10.88 1 )   และการมีฟันโยก ( ORadj = 8.965 ,  P-value=0.009 ,  95%CI = 1.724 - 46.622 )  ตามลำดับ  ดังนั้นผู้รับผิดชอบงานทันตสุขภาพของโรงพยาบาล  ควรให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ ได้แก่  การพบแพทย์ตามนัดและการทานยาเป็นประจำสม่ำเสมอ  การปรับพฤติกรรมสุขภาพ  การควบคุมการรับประทานอาหาร  เป็นต้น 

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานตามตัวชีวัดกระทรวงปี 2562. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php.

เฉลิมพล ตันสกุล. (2543). พฤติกรรมศาสตรสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์.

เพ็ญศิริ มีวรรณี และ รุจิรา ดวงสงค์. (2559). ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ของผู้สูงอายุ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารทันตาภิบาล. 27(1), 92.107.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2548). ระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ศิริพันธ์ หอมแก่นจันทร์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาพร อัศวบวรชัย, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, เสาวนันท์ บำเรอราช และมุขดา ศิริเทพทวี. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรงในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสระแก้ว. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั งที่ 4 “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย” วันที่ 10 พฤษภาคม 2556

(น. 101-110). สงขลา: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Bartolome R. Celli, Gordon L. Snider, John Heffner and et al. (1995). Standards for the Diagnosis and Care of Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine. 152(5), S77-S121.

Beach, E.K., Moloney, B.H., Plocica A.R. and et al. (1992). The spouse: A factor in recovery after myocardial infarction. Heart & Lung: The Journal of Cardiopulmonary and Acute Care. 21(1), 30-38.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.

Cairo, F., Routundo, R., Frazzingaro, G., Muzzi, L. and Pini Prato, GP. (2001). Diabetes mellitus as a risk factor for periodontitis. Minerva Stomatol. 50(9-10), 321-330.

Campus G, Salem A, Uzzau S, Baldoni E and Tonolo G. (2005). Diabetes and periodontal disease: a case-control study. J Periodontol. 76(3), 418-25.

Green, L. W. and Kreuter, M.W. (1991). Health promotion planning: and enviromentalapproach. Toronto: Mayfied Publishing.

Kapp, J. M., Boren, S. A., Yun, S., and Le Master, J. (2007). Diabetes and tooth loss in a national sample of dentate adults reporting annual dental visits. Prev Chronic Dis. 4(3), A59.

Kaur G., Holtfreter B., Rathmann W., Schwahn C., Wal laschofski H., Schipf S. and et al. (2009). Association between type 1 and type 2 diabetes with periodontal disease and tooth loss. J Clin Periodontol. 36(9), 765-774.

Kidambi, S., Patel, S. B. (2008). Diabetes mellitus: considerations for dentistry. The Journal of the American Dental Association. 139(5083), 8S-18S.

Lamster, I. B., Lalla, E., Borgnakke, W. S. and Taylor, GW. (2008). The relationship between oral health and diabetes mellitus.The Journal of the American Dental Association.139(5083), 19S-24S.

Schlesselman, J. J. (1974). Sample size requirements in cohort and case-control studies of disease. American Journal of Epidemiology. 99(6), 381-384.

Soskolne, W. A. and Klinger, A. (2001). The relationship between periodontal diseases and diabetes: an overview. Ann Periodontol. 6(1), 91-98.

Taylor GW. Burt BA, Becker MP, Genco RJ. Shlossman M, Knowler WC and et al. (1996). Severe periodontitis and risk for poor glycemic control in patients with non-insulin dependent diabetes mellitus. J Periodontol. 67(10), 1085-1093.

Weidlich, P., Climoes, R., Pannuti CM. and Oppermann, RV. (2008). Association between periodontal diseases and systemic diseases. Braz Oral Res. 22(1), 32-43.

World Health Organization (WHO). (2011). Global status report on noncommunicable diseases 2010: Description of the global burden of NCDs, Their risk factors and determinants. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023