ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลละลวด อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ แก้วชิณ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ชัญญานุช ไพรวงษ์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ธนาคาร เสถียรพูนสุข วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิฑูรย์ เจียกงูเหลือม วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ภาวินี ทิพย์กระโทก วิทยาลัยนครราชสีมา
  • เสาวลักษณ์ บุตรศรี วิทยาลัยนครราชสีมา
  • สมปอง ทาทอง วิทยาลัยนครราชสีมา
  • สิรรินทร์ สีเสนวรธนาสกุล วิทยาลัยนครราชสีมา
  • พิลาส สว่างสุนทรเวศย์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันโรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

            โรคไข้เลือดออกเดงกี่  เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่ที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค  โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก   อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลกในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา   โรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันโดยไม่ให้ยุงกัด   ความรอบรู้ด้านสุขภาพ    เป็นปัจจัยหนึ่งในการส่งเสริมและรักษาสุขภาพยังไม่มีการศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในจังหวัดบุรีรัมย์    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออก  เป็นการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือกออกในจังหวัดบุรีรัมย์   ปี  พ. ศ.  2562   เก็บข้อมูลโดยใช้การตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง   กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนกลุ่มอายุ 15-59 ปี  จำนวน 351 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

            ผลการศึกษา  พบว่า  ประชาชนกลุ่มอายุ 15-59  ปี  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  ร้อยละ 69.2 มีอายุระหว่าง 48-59 ปี ร้อยละ 33.6 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 70.7 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 43.0  มีอาชีพใช้แรงงานร้อยละ 61.3 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า  5,000  บาท  ร้อยละ  54.1  ความรอบรู้ด้านสุขภาพ  ส่วนใหญ่มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวป้องกันโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 62.1  การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวป้องกันโรคไข้เลือดออก     ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำร้อยละ  47.9   การสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวป้องกันโรคไข้เลือดออก   ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำร้อยละ  62.7   การจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ   เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวป้องกันโรคไข้เลือดออก   ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงร้อยละ  49.3  การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวป้องกันโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำร้อยละ  64.7   การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวป้องกันโรคไข้เลือดออก  ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำร้อยละ  49.0  การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง   ร้อยละ  46.4   ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการปฏิบัติ  เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลละลวด อำเภอชำนิ  จังหวัดบุรีรัมย์    พบว่า   ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ   การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ   ทักษะการสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ   การจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเพื่อสร้างเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์กับ     การปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลละลวด  อำเภอชำนิ  จังหวัดบุรีรัมย์  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมควบคุมโรค. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 (ฉบับแนะน า). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กันต์ธมน สุขกระจ่าง. (2559). ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขต

รับผิดชอบ ของ รพ.สต บ้านท่าไทร (หมู่ 5 - 9) ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ, 7/2559 (น. 1-8). สงขลา: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2559). พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทพนิมิต จังหวัดจันทบุรี. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 1(1), 63-68.

ชมพูนุช อินทศรี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชนบ้านคลองบางนา ตำบลศีรษะจระเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 3(1), 43-51.

นันทิตา กุณราชา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 9(1), 91-103.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2557). วิธีการวิจัยทางสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กองจัดการวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พงษ์เดช สารการ. (2561). วิทยาการระบาดและชีวสถิติ. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มารยาท โยทองยศ. (ม.ป.ป.). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. www.fsh.mi.th/km/wpcontent/uploads/2014/04/resch.pdf.

ยุวดี รอดจากภัย. (2561). การส่งเสริมสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.

วิภารักษ์ บุญมาก. (2560). โรคไข้เลือดออก ( Dengue Hemorrhagic Fever). https://www.pharmacy.mahidol.ac.th.

สำนักระบาดวิทยา. (2562). ไข้เลือดออก. www.boe.moph.go.th/fact/Dengue_Haemorrhagic_Fever.htm.

สำนักโรคติดต่อน าโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2558). คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Chiu-Jung Chang. (2018). Epidemiological, clinical and climatic characteristics of dengue fever in Kaohsiung City, Taiwan with implication for prevention and control. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0190637.

Jehangir Khan. (2018). The changing epidemiological pattern of Dengue in Swat, Khyber Pakhtunkhwa. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0195706.

Rafdzah Zaki. (2019). Public perception and attitude towards dengue prevention activity and response to dengue early warning in Malaysia. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0212497.

World Health Organization. (2019). Dengue and severe dengue. https://www.who.int/newsroom/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023