การพัฒนาสารเคลือบผิวจากสารสกัดกะเพราและสะเดากักเก็บด้วยอนุภาคไคโตซานเพื่อยืดอายุการเก็บและการดูดซับสารพิษตกค้างในผลไม้สด
คำสำคัญ:
ไมโครไคโตซาน, สารเคลือบผิว, พืชสมุนไพร, สตรอว์เบอร์รีบทคัดย่อ
ผลไม้สดเป็นอาหารที่เสียง่ายเนื่องจากมีปริมาณน้ำสูงและยังมีสารอาหารที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งโดยทั่วไปนิยมใช้สารเคลือบผิวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้สด มีสารเคลือบผิวที่ได้รับความสนใจในปัจจุบันคือสารเคลือบผิวจากสารธรรมชาติ ที่มีความปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริ โภค ในงานวิจัยนี้มีการศึกษาการเตรียมสารเคลือบผิวจากสารสกัดหยาบกะเพราและสะเดากักเก็บ ด้วยอนุภาคไคโตซานที่มีขนาดนาโนเมตรหรือไมโครเมตรด้วยเทคนิคการทำให้เกิดเจลแบบไอออนิกโดยใช้สารไตรพอลิฟอสเฟต (TPP) เป็นสารเชื่อมขวางที่มีประจุลบ และมีการศึกษาประสิทธิภาพของสารเคลือบผิวต่อการยืดอายุการเก็บรักษาสตรอว์เบอร์รีสด รวมทั้งประสิทธิภาพดูดซับสารเคมีตกค้างของสารเคลือบผิว ยังพบว่าสารเคลือบผิวที่เตรียมจา- กอนุภาคไมโครไคโตซานกักเก็บสารสกัดสะเดา มีประสิทธิภาพยืดอายุการเก็บรักษาสตรอว์เบอร์รีสดได้นานที่สุดคือ 8 วัน โดยที่ผลสตรอว์เบอร์รีไม่เกิดเชื้อราและไม่เน่าเสีย ในขณะที่สารเคลือบผิวที่เตรียมจากอนุภาคไคโตซาน, อนุภาคไมโครไคโตซาน และอนุภาคของไม โครไคโตซานกักเก็บสารสกัดตะไคร้สามารถรักษาสตรอว์เบอร์รีได้นาน 5 วัน, 6 วัน และ 6 วัน ตามลำดับ โดยที่สตรอว์เบอร์รีกลุ่มควบคุมเก็บรักษาได้ 4 วัน จากนั้นนำมาศึกษาประสิท ธิภาพการดูดซับยาฆ่าแมลง (Pyrethroid) ของสารเคลือบผิวชนิดต่างๆ พบว่า สารเคลือบผิวที่เตรียมจากอนุภาคไมโครไคโตซานกักเก็บสารสกัดสะเดา มีประสิทธิภาพในการดูดซับยาฆ่าแมลงที่ตกค้างบนผิวสตรอว์เบอร์รีได้ดีที่สุด ดังนั้นอนุภาคไมโครไคโตซานกักเก็บสารสกัดสะเดาที่เตรียมได้จากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อผลิตเป็นสารเคลือบผิวสำหรับยืดอายุการเก็บรักษาและสามารถดูดซับสารเคมีตกค้างที่ผิวผลไม้สดได้ อีกทั้งยังเป็นสารธรรมชาติที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
References
ปรางทอง กวานห้อง. (2557). ผลของไคโตซานความเข้มข้นต่ าต่อคุณภาพการเก็บรักษาชมพู่พันธุ์ทองสามสี. แก่นเกษตร. 42(3), 180 – 184.
Abhishek Yadav, Mohammed Samin and Vinay Lomash. (2012). Curcumin encapsulated in chitosan nanoparticles: A novel strategy for the treatment of arsenic toxicity.Chemico-biological interactions. 199(1), 49-61.
J. Uthaya Chandirika, R. Sindhu, S. Selvakumar and G. Annadurai. (2018). Herbal extract encapsulated in chitosan nanoparticle: A novel strategy for the treatment of urolithiasis. Indo American Journal of Pharmaceutical Sciences. 5(03), 1955 – 1961.
Leila Servat-Medina, Alvaro Gonzalez-Gomez and Mary Ann Foglio. (2015). Chitosantripolyphosphate nanoparticles as Arrabidaea chica standardized extract carrier:synthesis, characterization biocompatibility, and antiulcerogenic activity. International Journal of Nanomedicine. 10, 3897 – 3909.
W. Wisuitiprot, A. Somsiri, K. Ingkaninan and N. Waranuch. (2011). In vitro human skin permeation and cutaneous metabolism of catechins from green tea extract and green tea extract-loaded chitosan microparticles. International Journal of Cosmetic Science. 33(6), 572 – 579.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.