การศึกษาวิธีการฟอกฆ่าเชื้อพืชสมุนไพรท้องถิ่นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ ปาลี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การฟอกฆ่าเชื้อ, การขยายพันธุ์, เชียงแสน, สมุนไพร, สภาพปลอดเชื้อ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการฟอกฆ่าเชื้อพืชสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อทำการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ   โดยทางผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกพืชสมุนไพรจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ว่านเกราะเพชรไพฑูรย์ ว่านเอ็นเห ลือง และว่านเสน่ห์จันทร์หอม ซึ่งส่วนของพืชที่ใช้ในการทดลอง คือ หน่อ โดยนำเอาชิ้นส่ว นของหน่อของว่านทั้ง  3  ชนิด มาทำการฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารฟอกขาวที่มีชื่อการค้า คือ ไฮเตอร์ (ซึ่งมีโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 6%) ที่ระดับความเข้มข้นและเวลาที่แตกต่างกัน จากนั้นย้ายเลี้ยงหน่อว่านที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อแล้วบนอาหารวุ้นสูตร MS เป็นเวลา 8 สัปดาห์  ซึ่งผลจากการทดลอง  พบว่า  วิธีการฟอกฆ่าเชื้อหน่อว่านเกราะเพชรไพฑูรย์ที่ดีที่สุด คือ การฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮเตอร์ความเข้มข้น 15% นาน 15 นาที โดยมีอัตราการรอดขอ งชิ้นส่วนสูงสุด 86.7% ขณะที่วิธีการฟอกฆ่าเชื้อหน่อว่านเอ็นเหลืองและหน่อว่านเสน่ห์จัน ทร์หอมที่ดีที่สุด คือ การฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮเตอร์ความเข้มข้น 15% นาน 10 นา ที โดยมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด 93.3% และ 73.3% ตามลำดับ

References

จิราภรณ์ ปาลี. (2016). การขยายพันธุ์ต้นลิงลาว (Tupistra albiflora K. Larsen) ในสภาพธรรมชาติและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. Sci. & Tech. RMUTT J. 6(2), 1 - 16.

จันทร์เพ็ญ ใจซื่อ, สุรพล ฐิติธนากุล, สรายุทธ อ่อนสนิท และเยาวพรรณ สนธิกุล. (2562). เทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากธรรมชาติเพื่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. KHON KAEN AGR. J. 47(SUPPL. 1), 1515 – 1520.

นงนุช เลาหะวิสุทธิ์, อัจฉรี เรืองเดช, สมเกียรติ สีสนอง และสมชาย หวังวิบูลย์กิจ. (2560). ผลของสารฟอกฆ่าเชื้อและสารควบคุมการเจริญเติบโตในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พรรณไม้น้ำบูเซป Bucephalandra sp. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 35(2), 95 – 103.

ภพเก้า พุทธรักษ์, รัฐพร จันทร์เดช และวารุต อยู่คง. (2555). การขยายพันธุ์บอนสี กุหลาบหิน และคว่ำตายหงายเป็น โดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง. 2, 1 - 15.

ภพเก้า พุทธรักษ์ และวารุต อยู่คง. (2555). การขยายพันธุ์โมกพวง พุดจีบ รักขาว และรักม่วง โดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 4(7), 91 - 103.

ภพเก้า พุทธรักษ์, วารุต อยู่คง และมณฑล สงวนเสริมศรี. (2554). การขยายพันธุ์ว่านสี่ทิศโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารนเรศวรพะเยา. 4(3), 3 - 8.

รุ่งอรุณ ดอนจันทร์ทอง, ณ. นพชัย ชาญศิลป์, สรรลาภ สงวนดีกุล และณัฐวุฒิ รอดบุตร. (2560). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบัวยักษ์ออสเตรเลีย (Nymphaea gigantea). วารสารวิจัย. 10(2),1-7.

รัตนา ขามฤทธิ์ และจิตรกร ปรีแม่น. (2562). การฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวและการชักน าให้เกิดต้นจากไรโซมของไพลในหลอดทดลอง. แก่นเกษตร. 47 ฉบับพิเศษ 1, 1393 - 1398.

อุบล สมทรง. (2556). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส้มซ่า (Citrus medica L. var. linetta Risso). วารสารเกษตรพระวรุณ. 10, 29 - 38.

Jan, A., Bhat, K.M., Bhat, S.J.A., Mir, M.A., Bhat, M.A., Wani, I.A. and Rather, J.A. (2013). Surface sterilization method for reducing microbial contamination of field grown strawberry explants intended for in vitro culture. Afr. J. Biotechnol. 12, 5749 - 5753.

Chotigamas, T., Sripaoraya, S., Gateprasert, M., Vanichsriratana, W. and Sirisansaneeyakul, S. (2 0 0 9 ) . The Tissue Culture Optimization for Amorphophallus oncophyllus Cell suspension for Konjac Glucomannan Production. https://pdfs.semanticscholar.org/b630/2c901230d8164b59686411fce18d1764d8b7.pdf .

Murashige, T. and Skoog, F. (1962). A Revised Medium for Rapid Growth and Bioassays with Tobacco Tissue Cultures. Physiol. Plant. 15, 473 - 497.

Palee, J., Dheeranupattana, S., Jatisatienr, A. and Wangkarn, S. (2013). Effects of BA and NAA on Micropropagation and Stemona Alkaloids Production of Stemona curtisii Hook.f. Chiang Mai J. Sci. 40(3), 356 – 363.

Sen, M.K., Jamal, M.A.H.M. and Nasrin, S. (2013). Sterilization factors affect seed germination and proliferation of Achyranthes aspera cultured in vitro. Environmental and Experimental Biology. 11, 119 - 123.

Talei, D., Saad. M.S., Yusop, M.K., Kadir, M.A. and Valdiani, A. (2 0 1 1 ) . Effects of Different Surface Sterilizers on Seed Germination and Contamination of King of Bitters (Andrographis paniculata Nees.). Am-Euras. J. Agric. & Environ. Sci. 10, 639 - 643.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-03-2023