ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมาฝากครรภ์ล่าช้ากว่า 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกในสถานบริการของรัฐเขตอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • หทัยรัตน์ รังสรรค์สฤษดิ์ โรงพยาบาลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

คำสำคัญ:

ความล่าช้า, หญิงตั้งครรภ์, การฝากครรภ์ครั้งแรก

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมาฝากครรภ์ล่าช้ากว่า  12  สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก ประชากร  คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกในสถานบริการของรัฐ เขตอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ในปีงบประ มาณ 2561  และไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์  จำนวน 900 ราย โดยการใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของการศึกษาแบบภาคตัดขวางของ Schlesselman ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 220 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบ- บสอบถามประกอบด้วย คุณลักษณะส่วนบุคคล  ความรู้ของหญิงตั้งครรภ์ ทัศนคติของหญิงตั้งครรภ์  แบบบันทึกข้อมูลการฝากครรภ์ ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถาม  โดยแบบสอบ ถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดล- องใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.922 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ  Chi-square แสดงค่า P-val- ue ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ซึ่งผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกล่าช้ากว่า 12 สัปดาห์ เท่ากับ 46.80%  โดยอายุครรภ์เฉลี่ย เท่ากับ 13.90 สัปดาห์ (S.D.=7.477, Max=38, Min=2) มีตัวแปรที่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประ กอบด้วย อายุ (P-value=0.047), ระดับการศึกษา (P-value=0.015), การประกอบอาชีพ ( P-value=0.050), รายได้เฉลี่ยของหญิงตั้งครรภ์ต่อเดือน (P-value=0.001), จำนวนสมาชิ กในครอบครัว (P-value=0.006), ประวัติการเคยแท้งบุตร (P-value=0.045) สำหรับความรู้ของหญิงตั้งครรภ์ และทัศนคติของหญิงตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการมาฝากครรภ์ครั้งแรกของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการของรัฐเขตอำเภอกะทู้ จัง หวัดภูเก็ต (P-value=0.267, P-value=0.578 ตามลำดับ)

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการด าเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการในคลินิกฝากครรภ์สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ทัศนีย์ หลาเนียม. (2553). การศึกษาความชุกของการไม่มาฝากครรภ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มาฝากครรภ์ของมารดาที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การพยาบาล มหาบัณฑิต การผดุงครรภ์ขั้นสูง) มหาวิทยาลัยมหิดล.

เรณู ศรีสุข. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการเขตอ าเภอพนัสนิคม. (ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง คณะพยาบาลศาสตร์). มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงพยาบาลป่าตอง. (2560). รายงานสถานการณ์การคลอดโรงพยาบาลป่าตอง ปี2560. โรงพยาบาลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. (2560). รายงานสถานการณ์การคลอดจังหวัดภูเก็ต ปีงบประมาณ 2560. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต.

อรทัย วงศ์พิกุล. (2559). ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนรราชสีมา.

Anderson, R. M., Newman, J. (1983). Social and individual determinants of medical care utilization in the United States. Journal of Health and Society; 51(1): 95-124.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rded). Englewood Cliffs: N.J. Prentice-Hall.

Bloom, B.S. (1975). Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York.

Cronbach, Lee J. (1951). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper.

Gross, K., Alba. S., Glass, T. R., Schellenberg, J. A., Obrist, B. (2013). Timing of antennal care for adolescent and adult pregnant women in South-Eastern Tanzania. Journal of BioMed Central Pregnancy and Childbirth; 12(16): 1-12.

Roger, Shoemaker. (1978). Communication of Innovation: a cross-cultural approach. New York : The Free Press.

Schlesselman, J. J. (1974). Sample size requirements in cohort and case-control studies of disease. American Journal of Epidemiology; 99: 381-4.

Tariku, A., Melkamu, Y., Kebede, Z. (2010). Previous utilization of service does not improve timely booking in antenatal care: Cross sectional study on timing of antenatal care booking at public health facilities in Addis Ababa. Ethiopian Journal of Health Development; 24(3): 226-233.

World Health Organization [WHO]. (2003). Antenatal care in developing countries promises, achievements and missed opportunities: An analysis of levels, and differentials.Geneva: World Health Organization

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-03-2023