ปัจจัยความเมื่อยล้าจากการทำงานของบริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด (โรงสีข้าวกำแพงเพชร)
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, ความเมื่อยล้าบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาปัจจัยความเมื่อยล้าจากการทำงานของพนักงานบริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด (โรงสีข้าวกำแพงเพชร) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอาการหรือความเมื่อยล้าจากการทำงานของพนักงานบริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด (โรงสีข้าวกำแพงเพชร) เพื่อศึกษาปัจจัยในด้านการทำงานของพนักงานบริษัทข้าว ซี.พี.จำกัด (โรงสีข้าวกำแพงเพชร) และเพื่อศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานบริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด (โรงสีข้าวกำแ พงเพชร)ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด (โรงสีข้าวกำแ พงเพชร) จำนวน 60 คน กำหนดขนาดของกลุ่มประชากรตัวอย่าง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การสร้างเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบสอบถามให้แก่พนักงานบริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด (โรงสีข้าวกำแพงเพชร)การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จ SPSS มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check-List) ใช้วิธีการหาความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) และแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด ได้ แก่ เพศชาย จำนวน 34 คน เพศหญิง จำนวน 26 คน ช่วงอายุที่มากที่สุด คือ 30-40 ปีส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุดได้แก่ พนักงานในแผนกต่างๆ อายุการทำงานมากที่สุด ได้แก่ 7-9 ปี และส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ผลการวิเคราะ ห์ข้อมูลเกี่ยวกับอาการหรือความเมื่อยล้าจากการทำงานของพนักงาน บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัดฯ โดยในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย อันดับแรก คือ ข้อเท้าและเท้า รองลงมา คือ ข้อศอกและแขน และรู้สึกเจ็บหรือปวดหรือเมื่อยหรือไม่สบายตัวขณะทำงาน ตามลำดับ อาการเจ็บหรือปวดหรือเมื่อย หรือไม่สบายตัว มากที่สุด ได้แก่ หลังจากทำงาน รองลงมา ได้แก่ ขณะทำงาน และเป็นประจำ ตามลำดับ ความบ่อยของการเกิดอาการเจ็บหรือปวดหรือเมื่อย หรือไม่สบาย มากที่สุด ได้แก่ เป็นช่วงๆ รองลงมา ได้แก่ ทุกวันและนานๆครั้ง ตามลำดับ ซึ่งผล การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านการทำงานของพนักงานบริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัดฯซึ่งในภาพรวมอยู่ในระดับใช่ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อันดับแรก คือ การที่นั่งทำงานโดยไม่ลุกไปไหนเลย รองลงมา คือ ยกและเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า 10 กิโลกรัม และทำงานโดยใช้มือเหนือศีรษะหรือใช้ข้อศอกเหนือหัวไหล่มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ตามลำดับ และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานในบ ริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัดฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อันดับแรก คือ ระยะทางเดินไปห้องทำงานจากลานจอดรถไกลเกินไป รองลงมา คือ มีอากาศถ่าย เทภายในห้องทำงานน้อย และภาระงานที่ท่านได้รับมากเกินไป ตามลำดับ
References
_____ .(2542).ความหมายของการยศาสตร์.สืบค้นจาก :http://kanchanapisek.or.th/ kp6/sub/book.phpbook=32&chap=7&page=t32-7-infodetail01.html.
_____ .(2556).ประโยชน์ของการยศาสตร์.สืบค้นจาก : http://kanchanapisek.or.th/ kp6/sub/book/book.php?book=32&chap=7&page=t32-7-infodetail03.html.
_____ .(2556).สาเหตุของการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ. สืบค้นจาก : https://biokramnuea. wordpress.com.
จันทราวรรณ จันตรา.(2559).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้าของผู้ประกอบอาชีพเสริมสวยในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จ.ชลบุรี.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).การล้าหรืออาการเมื่อยล้า.สืบค้นจาก: https://www.thaihealth. or.th/Content/42014.html.
_____ .(2551).อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูกแต่ละสาเหตุมีลักษณะอย่างไร. สืบค้นจาก: http://haamor.com/th.com.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.