ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ปัทมา พึ่งสถิตย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพิณพาทย์ จังหวัดสุโขทัย
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยบริหาร, กระบวนการบริหาร, ไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research study)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจ จัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของบุคลากรสาธารณสุขประชากร  คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ 2558 จำนวน 1,024 ราย  ใช้สู ตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ Daniel จำนวน 280 ราย  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามประกอบด้วย  4 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคค ล  ปัจจัยการบริหาร กระบวนการบริหาร  และการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก   แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน  3 ท่านและนำไปทดลองใช้เพื่อ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่น 0.93   วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์  โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยบริหาร ประกอบด้วย  ด้านกำลังคน ด้านงบประมาณและด้านวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (70.70%) (gif.latex?\bar{x}=2.29, S.D.=0.46) ด้านกระบวน การบริหาร ประกอบด้วย ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านอำนวยการ ด้านการประส านงาน และด้านการรายงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (56.80%) (gif.latex?\bar{x}=2.53, S.D.=0.5 7)  การปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของบุคลากรสาธารณสุข ประกอบด้ว ยการป้องกันระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิ ระดับตติยภูมิ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (56. 80%) (gif.latex?\bar{x}=2.43, S.D.=0.50) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยบริหารและกระบวน การบริหารมีความสัมพันธ์กับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของบุคลากรสาธา รณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.164, P-value=0.006, r=0.402,P-value<0.001 ตาม ลำดับ)  ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ผู้บริหารสาธารณสุข ควรให้การสนับสนุนปัจจัยบริหารแก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการจัดกิจกรรมควบคุมและป้- องกันโรคไข้เลือดอกอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง  และมีการส่งเสริมให้มีการประสานงานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานรวมทั้งการสร้างเครือข่ายการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในรูปของคณะกรรมการระดับพื้นที่

References

กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรคสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กลุ่มโรคไข้เลือดออก. (2560). คู่มือการประเมินผลตามตัวชี้วัดงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.

จารุกิตติ์ นาคคำ. (2556). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการรายงานข้อมูลสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น : 21(1).

ชูยศ ศรีวรขันธ์. (2553). ปัจจัยแรงจูงใจต่อผลการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธีระวุฒิ กรมขุนทด. (2555). ปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับความสมบูรณ์ของรายงานข้อมูลมาตรฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสถานีอนามัย อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. [การศึกษาอิสระ] ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญถม ชัยญวน. (2553). ปัจจัยการบริหารและกระบวนการที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญทัน สมีน้อย, ประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยทางการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย พื้นที่อำเภอโซนใต้ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น.16(6),706-715.

วุฒิศักดิ์ คำภาษี. (2554). ปัจจัยการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานควบคุมโรคในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

หาญ จินดา. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารกับการปฏิบัติงานด้านการบริการสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดนครราขสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

สมศักดิ์ บุญเนาว์. (2557). ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของทีมเฝ้าระวังสอบสวน เคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอในจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่. (2554). คู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติราชการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2557). สรุปรายงานประจำปี. เอกสารอัดสำเนา.

อาคม ปญญาแกว, ประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุเทน จิณโรจน์, วิทัศน์ จันทร์โพธิ์ศรี. (2556). ลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยในการบริหารมีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น : 21(1), 63-74.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall. (9thed). New York: John Wiley & Sons.

Gulick, Luther and L. Urwick.(1939).Paper on the Science of Administration. New York: Columbia University.

Henri Fayol. (1949). General and Industrial Management. London: Isac Pitman sons Ltd.Weichrich Heinz, Koontz Harold. Manage A Global Perspective Mcgraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-06-2023