ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักเรียนผู้ช่วยพยาบาลโรงเรียนบริบาลในเชียงราย
คำสำคัญ:
การรับรู้คุณค่าในตนเอง, ทัศนคติต่อการรับรู้คุณค่าตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางเพื่อศึกษาการศึกษาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักเรียนผู้ช่วยพยาบาลโรงเรียนบริบาล ในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนบริบาลที่มีอายุ18 ปีขึ้นไปจำนวน180คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนผู้ช่วยพยาบาลร้อยละ 40.0 มีการรับรู้คุณค่าในตน เองอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 36.1 การรับรู้คุณค่าในตนเองในระดับสูงและ ร้อยละ 23.9 การรับรู้คุณค่าในตนเองในระดับปานกลางมีทัศนคติต่อการรับรู้คุณค่าตนเองในระดับดี ร้อยละ 26.7 ปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถคาดทำนายความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักเรียนผู้ช่วยพยาบาลได้แก่ การรับรู้คุณค่าในตนเอง ทัศนคติต่อการรับรู้คุณค่าตนเอง (p–value < 0.05)ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมทำนายความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักเรียนผู้ช่วยพยาบาลโรงเรียนบริบาลในจังหวัดเชียงราย ได้ร้อยละ 5 และปัจจัยด้าน การรับรู้คุณค่าในตนเองสามารถร่วมทำนายได้สูงสุด ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้โรงเรียนริบาล ควรวางแผนในการการรับรู้คุณค่าในตนเองให้เหมาะสมมากขึ้น โดยเน้นการส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับตนเองทัศนคติต่อการ รับรู้คุณค่าตนเองและปรับทัศนคติของนักเรียนผู้ช่วยพยาบาลให้ดี
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2544). ปัญหาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้แหล่งที่มา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คนึงนิตย์ นุเกตุ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง กับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดในการทำงานของพยาบาล โรงพยาบาลน่าน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทวีพง ธรรมทวี. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นภาพร เอื้ออุปถัมภ์. (2556). ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พนาดร แสนใจ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในครอบครัว การเห็นคุณค่าในตนเองและกลวิธีในการเผชิญปัญหาของวัยรุ่นจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิมพ์พิสาข์ จอมศรี. (2553). ความเครียดและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษา คณะพยาบาล-ศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รุ่งกาญจ์ ปรียานุภาพ. (2558). การเห็นคุณค่าตนเองในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วีณา ชิยางคบุตร. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุดา สงเดช. (2556). การศึกษาความสัมพันธภาพในครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูโครงสร้างครอบครัว การเห็นคุณค่าในตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุธรรม นันทมงคลชัย และคณะ. (2558). ภาวะวิกฤตในครอบครัวกับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาการเด็กปฐมวัยและวัยเรียน. ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรทัย ชื่นมนุษย์. (มปป). สุขภาพจิตและการปรับอารมณ์. ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัญชลี ประสบจตุรพร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวกับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Deborah. (2019). Popular culture and democracy in some southern contexts: an introduction. Journal of southern African studies, 26 (2). pp. 189-208.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.