การพัฒนารูปแบบการคัดกรองด้วย Pediatric Early Warning Score : PEWS ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันเพื่อดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ วัดพ่วง โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก, ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลัน, Pediatric Early Warning Score : PEWS

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดกรองด้วย Pediatric Early Warning Score : PEWS ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันเพื่อดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม  โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ใช้วิธีวิจัยกึ่งทดลอง โดยศึกษาแบบกลุ่มเดียว ดำเนินการวัดก่อนและหลังการทดลอง   เพื่อเปรียบเทียบความรู้  ความคิดเห็น  และการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการคัดกรองด้วย  Pediatric Early Warning Score : PEWS ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม เลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวนทั้งหมด 12 คน              เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบบันทึกการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง                                                                ผลการวิจัยพบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 1.1) ด้านความรู้ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้รูปแบบการคัดกรองด้วย Pediatric Early Warning Score : PEWS  ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลัน (𝑥̅=0.98,S.D.=0.04) สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ (𝑥̅=0.82, S.D.=.10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05,                1.2) ด้านความคิดเห็นพบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพ หลังการใช้รูปแบบการคัดกรองด้วย Pediatric  Early  Warning Score : PEWS ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลัน (𝑥̅=4.61, S.D.=0.23) สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ (𝑥̅=4.32, S.D.=0.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, และ                                                                                 1.3) ด้านการปฏิบัติพบว่าค่าเฉลี่ยการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ หลังการใช้รูปแบบการคัดกรองด้วย Pediatric Early Warning Score :  PEWS ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลัน (𝑥̅=0.92, S.D.=0.05) สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ (𝑥̅=0.73, S.D.=0.09)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กองการพยาบาล. (2539). คู่มือการจัดการบริการพยาบาลจากหลักการสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จริยา พรวรรณโชติ. (2554). การพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี.22(1): 83-90.

พิไลลักษณ์ โรจนประเสริฐ. (2553). การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาการได้รับออกซิเจน. ตำราการพยาบาลเด็กเล่ม 1, 33-56. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพยาบาลสภาการชาดไทย.

วิมลพรรณ สังข์สกุล. (2555). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจ. ในพรทิพย์ศิริบูรณ์พิพัฒนา (บรรณาธิการ). การพยาบาลเด็กเล่ม 2, 51-118. นนทบุรี: ยุทธรินทร์ การพิมพ์.

สมหญิง โควศวนนท์. (2552). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ. ในบุญเพียร จันทวัฒนา และคณะ (บรรณาธิการ). ตำราการพยาบาลเด็กเล่ม 2, 2552 . กรุงเทพฯ: พรีวัน.

สมฤดี ชัยวีระวัฒนะ. (2563). ปอดบวม ภัยรายใกลตัวเด็กเล็กที่ถูกลืม. แหล่งที่มา: http://thainews.Prd.go.th/Influenza/index.php.

สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boedb/d506_1/ds_wk2pdf.php?ds=31&yr=61.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. (2544). เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพ: คู่มือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.

Akre M, Finkelstein M, Erickson M, Liu M, Vanderbilt L & Billman G. (2010). Sensitivity of The Pediatric Early Warning Score to identify patient deterioration. Pediatrics, 125(4): e763.

Ball, J. W, et al. (2012). Principles of pediatric nursing: caring for children. 5thed. USA: Pearson.

Burns, N., and Grove, S. K. (1997). The practice of nursing research: conduct, critique & utilization. (3rd ed). Philadelphia: W.B. Saunders : 268.

Duncan H, Hutchiton J, Parshuram CS. (2006). The pediatric early warning system score: A severity of illness score to predict urgent medical need in hospitalized children. Journal of Critical Care, 21(3), 271-279.

Edwards E, Powell C, Mason B, Oliver A. (2009). Prospective cohort study to test the predictability of the Cardiff and Vale paediatric early warning system. Journal Medicine.94(8), 602.

Ennis, L. (2014). Paediatric early warning scores on a children’s ward: A quality improvement initiative: Linda Ennis discusses the implementation and evaluation of a track and trigger system to improve the care, referral and outcomes for acutely ill young patients. Nursing Children and Young People. 26(7), 25-31.

Gold, D. L., Mihalov, L. K., & Cohen, D. M. (2014). Evaluating the pediatric early warning score (PEWS) system for admitted patients in the pediatric emergency department. Academic Emergency Medicine. 21(11), 1249-1256.

Haines C, Perrott M, Weir P. (2006). Promoting care for acutely ill children-development andevaluation of paediatric early warning tool. Intensive Crit Care Nurs. 22, 73-81.

Monaghan, A. (2005). Detecting and managing deterioration in children. PaedistricNurs.17(1), 32-35.

World Health Organization. (2017). Fact sheets detail pneumonia. From https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/pneumonia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-06-2023